ตารางการใส่ปุ๋ยอ้อย อ้อยใหม่ อ้อยตอ ลำใหญ่ ผลผลิตสูง

ตารางการใส่ปุ๋ยอ้อย

สูตรปุ๋ยใส่อ้อยปลูกใหม่

  • ครั้งที่ 1: รองพื้นก่อนการปลูก ใช้สูตร 19-3-4 หรือ 20-3-4 หรือ 16-8-8 ปริมาณ 50 กก.ต่อไร่
  • ครั้งที่ 2: เร่งต้นอ้อย ใช้สูตร 30-0-0 หรือ 22-4-4 หรือ 27-5-5 ปริมาณ 50 กก.ต่อไร่
  • ครั้งที่ 3: บำรุงผลผลิต ทำหวานอ้อย ใช้สูตร 15-3-21 หรือ 15-5-20 หรือ 20-8-20 ปริมาณ 50 กก.ต่อไร่

 

สูตรปุ๋ยใส่อ้อยตอ

  • ครั้งที่ 1: บำรุงตอเดิม ใช้สูตร 30-0-0 หรือ 22-4-4 หรือ 27-5-5 ปริมาณ 50 กก.ต่อไร่
  • ครั้งที่ 2: บำรุงผลผลิต ทำหวานอ้อย ใช้สูตร 15-3-21 หรือ 15-5-20 หรือ 20-8-20 ปริมาณ 50 กก.ต่อไร่

 

สารบัญ:

 

ปุ๋ยใส่อ้อยยี่ห้อไหนดี?

ปุ๋ยใส่อ้อย แนะนำ ปุ๋ย YVP และ ปุ๋ยแนนซี่ ซึ่งมีจุดเด่นคือ:

  1. มีสูตรให้เลือกหลากหลาย ครอบคลุม และ ตอบโจทย์กับการบำรุงผลผลิตอ้อยในทุกๆพันธุ์ และ ทุกพื้นที่
  2. มีส่วนผสมของธาตุอาหารไนโตรเจน (N) จาก 2 แหล่ง คือ จากปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 และ จากปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0 เป็นการดึงจุดเด่นของปุ๋ยทั้ง 2 ตัว คือ คุณสมบัติละลายเร็ว ทำให้พืชได้กินไว จากยูเรีย 46-0-0 และ ละลายช้า ทำให้พืชได้กินต่อเนื่อง จากแอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0 จึงทำให้ปุ๋ย YVP และ แนนซี่ มีธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ให้อ้อยได้กินอย่างต่อเนื่อง ลำต้นแข็งแรง ใบเขียวทนนาน สมบูรณ์แข็งแรง
  3. มีส่วนผสมของธาตุอาหารรองเสริมถึง 3 ธาตุอาหาร ได้แก่ ซัลเฟอร์ (S) แคลเซียม (Ca) และ แมกนีเซียม (Mg) ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และ ยังมีส่วนช่วยในการปรับสภาพดิน ทำให้พืชสามารถดูดซึม และ กินธาตุอาหารหลัก NPK ได้อย่างเต็มที่ ทำให้ต้นแข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับการให้ผลผลิตที่ดีได้
  4. มีส่วนผสมของ ปุ๋ยโพแทสเซียม 0-0-60 ที่ผลิตจากน้ำทะเลอิสราเอล ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักในการบำรุงผลผลิตอ้อย มีบทบาทในการสร้างน้ำตาล เพิ่มความหวาน ช่วยยืดขยาย และ เพิ่มน้ำหนักให้ข้อปล้อง และยังมีส่วนช่วยในการลำเลียงธาตุอาหารอื่นๆในพืช ทำให้พืชแข็งแรง ทนต่อสภาวะแล้ง และ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ดี
  5. ปุ๋ย YVP และ แนนซี่ ผลิตโดยโรงงาน และ เครื่องจักร ที่มีมาตรฐาน ISO 9001:2015 พร้อมประสบการณ์การผลิตยาวนานกว่า 37 ปี

สอบถามราคา หรือ ข้อมูลปุ๋ยอ้อยเพิ่มเติมได้ที่:

หรือ ติดต่อเรา

 

สูตรปุ๋ยรองพื้นอ้อยปลูกใหม่

  • ปุ๋ยรองพื้นอ้อย สูตร: 19-3-4 หรือ 20-3-4 หรือ 16-8-8
  • ปริมาณการใช้: 50 กิโลกรัม ต่อ ไร่
  • วิธีการใช้: ใส่ควบคู่กับปุ๋ยอินทรีย์ และ สารปรับปรุงดิน ผสมใส่ในดิน ในขั้นตอนการเตรียมดินก่อนการปลูก
  • ข้อมูล: การเติมธาตุอาหารให้ครบถ้วนก่อนการปลูกจะช่วยให้ต้นอ่อยปลูกใหม่มีธาตุอาหารเพียงพอในการเจริญเติบโตในช่วงแรก ทำให้อ้อยตั้งต้นได้เร็ว ลำต้นแข็งแรง โดยปุ๋ย YVP และ แนนซี่ ที่แนะนำนั้น นอกจากธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) ที่ครบถ้วนแล้ว ยังมีธาตุอาหารรองเสริมได้แก่ ซัลเฟอร์ (S) แคลเซียม (Ca) และ แมกนีเซียม (Mg) ทำให้เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารถึง 6 ธาตุอาหารในสูตรเดียว เหมาะสมอย่างมากสำหรับการรองพื้นเพื่อเติมธาตุอาหารก่อนการปลูกอ้อย
  • ทางเลือกปุ๋ยรองพื้นสูตรอื่นๆ

ปุ๋ยรองพื้น 19-3-4ปุ๋ยรองพื้นอ้อย 20-3-4ปุ๋ยรองพื้น 16-8-8

 

สูตรปุ๋ยเร่งต้น แตกกอ อ้อย

  • ปุ๋ยเร่งต้นอ้อย อายุ 20 – 30 วัน ใช้สูตร: 30-0-0, 22-4-4, 27-5-5
  • ปริมาณการใช้: 50 กิโลกรัม ต่อ ไร่
  • ข้อมูล: ในช่วงเร่งต้น เร่งการเจริญเติบโต เกษตรกรควรเน้นการเติมธาตุอาหารไนโตรเจน (N) โดยปุ๋ย YVP และ แนนซี่ จะมีที่มาของไนโตรเจน (N) จาก 2 แหล่ง คือ ไนโตรเจน (N) จาก ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ซึ่งพืชกินได้ไว และ ไนโตรเจน (N) จาก ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0 ซึ่งพืชจะกินได้นาน และ ยังมีส่วนผสมของธาตุอาหารรองเสริม ซัลเฟอร์ (S) แคลเซียม (Ca) และ แมกนีเซียม (Mg) ทำให้ต้นอ้อย นอกจากจะโตได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังโตได้อย่างแข็งแรง เขียวทนนาน เขียวสมบูรณ์ ลำต้นสูงใหญ่
  • ทางเลือกปุ๋ยเร่งต้นสูตรอื่นๆ

ปุ๋ยเร่งต้นแตกกออ้อย

 

สูตรปุ๋ยบำรุงอ้อยตอ

  • ปุ๋ยบำรุงอ้อยตอ อายุ 15 – 20 วัน ใช้สูตร: 20-10-5, 22-4-4, 27-5-5
  • ปริมาณการใช้: 50 กิโลกรัม ต่อ ไร่
  • ข้อมูล: ในการบำรุงอ้อยตอนั้น นอกจากธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ที่อ้อยจะต้องการในปริมาณมากแล้ว เกษตรกรยังควรเติมธาตุอาหารอื่นๆด้วยเพื่อให้อ้อยได้รับธาตุอาหารที่ครบถ้วน และสามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย
    โดยปุ๋ย YVP และ แนนซี่ จะมีที่มาของไนโตรเจน (N) จาก 2 แหล่ง คือ ไนโตรเจน (N) จาก ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ซึ่งพืชกินได้ไว และ ไนโตรเจน (N) จาก ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0 ซึ่งพืชจะกินได้นาน และ ยังมีส่วนผสมของธาตุอาหารรองเสริม ซัลเฟอร์ (S) แคลเซียม (Ca) และ แมกนีเซียม (Mg) ทำให้ต้นอ้อย นอกจากจะโตได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังโตได้อย่างแข็งแรง เขียวทนนาน เขียวสมบูรณ์ ลำต้นสูงใหญ่

ปุ๋ยอ้อยตอ

 

สูตรปุ๋ยบำรุงผลผลิต เพิ่มความหวานอ้อย

  • ปุ๋ยบำรุงผลผลิต ทำหวานในอ้อย อายุ 50 – 60 วัน ใช้สูตร: 15-3-21 หรือ 15-5-20 หรือ 20-8-20
  • ปริมาณการใช้: 50 กิโลกรัม ต่อ ไร่
  • ข้อมูล: ในช่วงของการบำรุงผลผลิต ทำหวาน สร้างแป้ง และ สร้างน้ำตาลนั้น อ้อยจะมีความต้องการธาตุอาหาร โพแทสเซียม (K) ซึ่งมีบทบาทโดยตรงในการสร้างแป้ง สร้างน้ำตาล ในปริมาณมากที่สุด และ ยังมีความต้องการธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ที่มีเป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์ มีส่วนช่วยในการสร้างพลังงาน และ บำรุงต้น บำรุงใบของต้นอ้อย ให้เติบโตแข็งแรง ช่วยยืด และ ขยายข้อปล้อง สร้างน้ำหนัก และ สร้างน้ำตาล

ปุ๋ยบำรุงผลผลิต ทำหวานอ้อย

 

ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ใส่อ้อย

ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 สามารถใช้ใส่อ้อยได้ ในช่วงเร่งต้น เร่งการเจริญเติบโต แต่จะมีเพียงธาตุอาหารไนโตรเจน (N) เพียงธาตุเดียว ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของต้นอ้อย ทางปุ๋ย YVP และ แนนซี่ จึงขอแนะนำปุ๋ยสูตร 30-0-0 สำหรับการเร่งต้น เร่งการแตกกอในอ้อยปลูกใหม่ โดยจะมีส่วนผสมของทั้ง แม่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 และ แม่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0 ทำให้อ้อยได้กินไนโตรเจน (N) 2 จังหวะ และ ยังมี ธาตุอาหารรองเสริมได้แก่ ซัลเฟอร์ (S) แคลเซียม (Ca) และ แมกนีเซียม (Mg) อีกด้วย

นอกจากสูตร 30-0-0 แล้ว เกษตรกรยังสามารถเลือกใช้ปุ๋ยสูตรอื่นๆที่มีธาตุอาหารครบถ้วน ซึ่งจะมีส่วนช่วยทำให้ต้นอ้อยสมบูรณ์แข็งแรง และมีความพร้อมในการให้ผลผลิตที่ดีได้ โดยสามารถใช้ได้ทั้งในอ้อยปลูกใหม่ และ อ้อยโต ได้แก่:

 

อาการขาดธาตุอาหารในอ้อย

อาการขาดธาตุอาหารในอ้อย

อ้อยขาดธาตุอาหาร ไนโตรเจน (N): ใบจะเป็นสีเขียวซีดจนเหลือง โดยเฉพาะใบแก่ และการเจริญเติบโตของต้นลดลง ปลายใบแห้งตาย ลำต้น เรียวเล็กและแคระแกร็น ความยาวระหว่างข้อปล้องหดสั้นลง การแตกกอน้อยลงและระบบรากไม่เจริญเติบโต

อ้อยขาดธาตุอาหาร ฟอสฟอรัส (P): จะมีอาการแตกต่างกันตามชนิดของอ้อย รูปนี้แสดงการเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงของลำต้น แต่การเปลี่ยนสีของยอดใบแก่ก็เกิดขึ้นได้

อ้อยขาดธาตุอาหาร โพแตสเซียม (K): ขอบใบและปลายใบแสดงอาการใบเหลืองอมส้ม ที่เรียกว่า ใบไหม้ ใบแก่จะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นแดงที่เส้นกลางใบ แล้วลามเปลี่ยนเป็นแดงทั้งหมดจนเหี่ยว ในขณะที่ใบอ่อนยังคงเป็นสีเขียว พืชเจริญเติบโตช้า ลำต้นผอม และงอเหมือนใบพัด ระบบรากแคระแกร็น

อ้อยขาดธาตุอาหาร แมกนีเซียม(Mg): อาการระยะแรกเริ่มจากมีจุดซีดหรือจุดเหลืองในใบแก่หลังจากนั้น รอยดังกล่าวจะรวมเป็น ‘จุดประ’ สีน้ำตาลอมส้มทำให้ใบมีลักษณะคล้ายสนิมเหล็กเกาะส่วนใบที่อ่อนกว่ามักยังเป็นสีเขียว

อ้อยขาดธาตุอาหาร แคลเซียม(Ca): จะแสดงอาการใบจุดเหลืองที่มีเนื้อเยื่ออ่อน ตายเป็นจุด ๆ แล้วต่อมาเปลี่ยนเป็นสีแดงสนิม ในกรณีที่รุนแรง ใบที่เจริญไม่เต็มที่จะงอบิดเบี้ยว ยอดใบบิดม้วนและตาย ลำจะผอมเรียวและสั้น ใบแก่มักมีสีเขียวซีด มีจุดเหลืองหรือ ‘สนิม’ ที่เกิดจากเนื้อเยื่อตายตามขอบใบ ใบตายก่อนที่จะแก่ เปลือกเป็นสีน้ำตาลด้านในเหมือนกับขาดธาตุแมกนีเซียม การเจริญเติบโตของรากมักไม่ดีก่อนที่จะปรากฎอาการที่ใบ

อ้อยขาดธาตุอาหาร กำมะถัน (S): จะแสดงอาการใบเหลือง ซีด ใบมีขนาดเล็กเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ โดยจะเริ่มแสดงอาการจากใบอ่อนก่อน แล้วจึงเริ่มแสดงอาการในใบแก่ ลำต้นจะผอมเล็ก แคระแกรน

 

วีดีโอแนะนำการใส่ปุ๋ยอ้อย

2 thoughts on “ตารางการใส่ปุ๋ยอ้อย อ้อยใหม่ อ้อยตอ ลำใหญ่ ผลผลิตสูง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *