สูตรปุ๋ยเคมีมีอะไรบ้าง ตัวเลข N-P-K คืออะไร มีวิธีดูยังไง

สูตรปุ๋ย

สูตรปุ๋ยเคมี คืออะไร มีอะไรบ้าง

สูตรปุ๋ย หรือ สูตรปุ๋ยเคมี คือตัวเลขที่แสดงปริมาณเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหารหลักของพืช N-P-K หรือ ไนโตรเจน (N) – ฟอสฟอรัส (P) – โพแทสเซียม (K) เช่น สูตรปุ๋ย 27-5-5 หมายถึง ปุ๋ยกระสอบนี้ มีธาตุอาหารไนโตรเจน (N) 27% – ฟอสฟอรัส (P) 5% – โพแทสเซียม (K) 5%

โดยสูตรปุ๋ยเคมีจาก YVP GROUP สามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่

  1. สูตรแม่ปุ๋ยเคมี คือวัตถุดิบปุ๋ยเคมี ซึ่งจะมีธาตุอาหารเพียง 1 – 2 ธาตุอาหาร เช่นแม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0, 18-46-0, 0-0-60
  2. สูตรปุ๋ยรองพื้น คือปุ๋ยสูตรต่ำ ที่มักมีธาตุอาหาร NPK ครบทั้ง 3 ธาตุ ใช้เพื่อเติมธาตุอาหารในช่วงแรกของการปลูก เช่น ปุ๋ยสูตร 16-8-8, 18-4-5, 19-3-4, 18-8-8 
  3. สูตรปุ๋ยเร่งใบ เร่งต้น คือสูตรปุ๋ยที่มีตัวหน้า หรือ ไนโตรเจน (N) สูง ใช้เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืช เช่น ปุ๋ยสูตร 30-0-0, 27-5-5, 22-4-4, 20-10-5
  4. สูตรปุ๋ยเร่งดอก สะสมอาหาร คือปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) สูง ใช้เพื่อบำรุงดอก และ เตรียมบำรุงผลผลิต เช่น ปุ๋ยสูตร 8-24-24
  5. สูตรปุ๋ยบำรุงผลผลิต คือปุ๋ยที่มีโพแทสเซียม (K) สูง ใช้เพื่อเร่งผลผลิต สร้างน้ำหนัก สร้างแป้ง สร้างน้ำตาล ขยายขนาด เช่นปุ๋ยสูตร 15-10-30, 15-5-20, 15-3-21, 15-5-25, 20-8-20
  6. สูตรปุ๋ยซัลเฟตแท้ 100% คือปุ๋ยสูตรพิเศษที่ไม่มีคลอไรด์ (Cl) เหมาะกับพืชที่อ่อนไหวต่อคลอไรด์ (Cl) เช่น ทุเรียน หอมแดง และ ยาสูบ

ข้อมูลเพิ่มเติมสูตรปุ๋ยต่างๆ

ตัวเลขสูตรปุ๋ย N-P-K หมายถึงอะไร ดูอย่างไร

ตัวเลขสูตรปุ๋ย N-P-K คือ เปอร์เซ็นต์ธาตุอาหารหลักของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน (N) – ฟอสฟอรัส (P) – โพแทสเซียม (K) ในปุ๋ยแต่ละสูตร

เช่น ปุ๋ยสูตร 16-8-8 หมายความว่า:

  • มีธาตุอาหาร ไนโตรเจน (N) = 16% หมายถึงในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม จะมีไนโตรเจน (N) 16 กิโลกรัม หรือคิดเป็น ไนโตรเจน (N) 8 กิโลกรัม ในกระสอบปุ๋ย 50 กิโลกรัม
  • มีธาตุอาหาร ฟอสฟอรัส (P) = 8% หมายถึงในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม จะมีฟอสฟอรัส (P) 8 กิโลกรัม หรือคิดเป็น ฟอสฟอรัส (P) 4 กิโลกรัม ในกระสอบปุ๋ย 50 กิโลกรัม
  • มีธาตุอาหาร โพแทสเซียม (K) = 8% หมายถึงในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม จะมีโพแทสเซียม (K) 8 กิโลกรัม หรือคิดเป็น โพแทสเซียม (K) 4 กิโลกรัม ในกระสอบปุ๋ย 50 กิโลกรัม

ปุ๋ย 16-8-8ปุ๋ย 16-8-8 วายวีพี

 

YVP GROUP คือผู้นำเข้า ผลิต และ จัดจำหน่าย ปุ๋ยเคมีทุกสูตร

  • เรามีสูตรปุ๋ยคลอบคลุมมากกว่า 60 สูตร สำหรับการใช้งานในทุกพืช ทุกช่วงการใช้งาน
  • เรามีประสบการณ์มากกว่า 37 ปี ในการเกษตร
  • เรามีโรงงาน เครื่องจักร และ ขั้นตอนการผลิต ที่ได้มาตรฐาน ISO 9001:2015 ถึง 2 โรงงาน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:

 

สูตรปุ๋ยแต่ละสูตร บำรุงอะไรบ้าง ดูอย่างไร

การดูสูตรปุ๋ยจะต้องดูที่อัตราส่วนของธาตุอาหารหลักของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) ซึ่งแต่ละธาตุอาหาร จะมีบทบาทในการบำรุงพืชที่แตกต่างกันไป ทำให้ปุ๋ยแต่ละสูตร เหมาะสำหรับการใช้งานในพืชที่แตกต่างกัน ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป

  1. ธาตุอาหาร ไนโตรเจน (N): เป็นธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงต้น บำรุงใบ ช่วงเร่งการเจริญเติบโตของพืช เป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์ที่ช่วยทำให้พืชใบเขียว และ ช่วยการสังเคราะห์แสง ซึ่งจะช่วยสร้างพลังงานให้ต้นพืช เพื่อใช้สำหรับการเจริญเติบโต และ การสร้างผลผลิต
  2. ธาตุอาหาร ฟอสฟอรัส (P): เป็นธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงราก เร่งการเจริญเติบโตของราก ทำให้รากแข็งแรง ทำให้พืชหาอาหารได้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีบทบาทในการช่วยบำรุงดอก และ สะสมอาหาร ในไม้ผล ช่วยทำให้ออกดอกได้เยอะ ติดดอกได้มาก
  3. ธาตุอาหาร โพแทสเซียม (K): เป็นธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงผลผลิตในพืชทุกชนิด มีส่วนสำคัญในการสร้างเนื้อ สร้างแป้ง สร้างน้ำตาล ช่วยเพิ่มน้ำหนัก เพิ่มขนาด เพิ่มความหวาน ให้ผลผลิตของพืชทุกๆชนิด นอกจากนี้ ยังมีบทบาทในการช่วยลำเลียงธาตุอาหารอื่นๆ ทำให้พืชกินอาหารได้มีประสิทธิภาพ และ ทำให้ทนต่อสภาพแวดล้อม และ อากาศ ที่ผันผวน ได้ดี

 

นอกจากธาตุอาหารหลัก 3 ธาตุอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) แล้วนั้น ธาตุอาหารรองเสริม ยังเป็นอีกส่วนที่มีความสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของพืช ช่วยทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้นแข็งแรง และสามารถให้ผลผลิตที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง และ ยั่งยืน โดยธาตุอาหารรองเสริมที่มีความสำคัญในพืช มี 10 ธาตุอาหาร ได้แก่:

  1. ซัลเฟอร์ (S): มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์แสง การสังเคราะห์กรดอมิโน และสารอินทรีย์หลักในพืช
  2. แคลเซียม (Ca): ทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์ และสร้างความแข็งแรงให้กับต้นพืช
  3. แมกนีเซียม (Mg): เป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง และเป็นธาตุอาหารสำคัญที่จะกระตุ้นการทำงานของฟอสฟอรัส
  4. โบรอน (B): มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์ของพืช ช่วยกระตุ้นการติดดอก และ ติดผลผลิต
  5. ซิงค์ (Zn): เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หลายชนิด และ เป็นส่วนประกอบของโปรตีนในพืช
  6. ธาตุเหล็ก (Fe): ทำหน้าที่เป็นสารเร่งปฏิกิริยาให้กับเอนไซม์ชนิดต่างๆ
  7. คลอไรด์ (Cl): เป็นส่วนสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสง ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์เพื่อลดการขาดน้ำจากพืชที่เติบโตในดินเค็ม
  8. แมงกานีส (Mn): ทำหน้าที่ในการปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนระหว่างการสังเคราะห์แสง ซึ่งมีความสำคัญต่อการหายใจ
  9. ทองแดง (Cu): เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่มีโลหะ ซึ่งทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนไนโตรเจน โปรตีน และฮอร์โมน รวมถึงการหายใจและสังเคราะห์แสงของพืช
  10. โมลิบดีนัม (Mo): ลดการเปลี่ยนรูปของไนเตรทเป็นไนไตรท์ ซึ่งเป็นรูปแบบของไนโตรเจนที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *