ปุ๋ยอินทรีย์ อินทรีย์เคมี คืออะไร มีกี่ประเภท สูตรอะไรบ้าง

ปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์ คืออะไร?

ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic Fertilizer) คือ ปุ๋ยที่ผลิตมาจากซากพืชซากสัตว์ โดยตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตรแล้ว จะต้องผ่านกระบวนการหมักด้วยจุลินทรีย์เพื่อย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ ให้เป็นอินทรีย์วัตถุ OM หรือ Organic Matter ซึ่งเป็นอินทรีย์วัตถุในรูปแบบที่พืชสามารถนำไปใช้งานได้ทันที โดยต้องมีปริมาณไม่น้อยกว่า 20% ของน้ำหนักรวม โดยปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการผลิตแล้วอาจอยู่ในรูปแบบผง หรือ นำไปผ่านกระบวนการปั้นอีกครั้งเพื่อให้เป็นรูปแบบเม็ดก็ได้

ปุ๋ยอินทรีย์นั้น ควรมีการใช้งานควบคู่กับปุ๋ยเคมี เพื่อให้ได้ผลผลิตจากการเพาะปลูกที่ดี เนื่องจากปุ๋ยทั้ง 2 ชนิดนั้นมีประโยชน์ จุดประสงค์ และ ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หากใช้เพียงอย่างใดอย่างนึงเพียงอย่างเดียว จะไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช

โดยปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารหลัก พร้อมธาตุอาหารรองเสริม ซึ่งพืชต้องการในปริมาณมาก ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) ซัลเฟอร์ (S) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และ ธาตุอื่นๆ ในขณะที่ปุ๋ยอินทรีย์นั้น จะมีธาตุอาหารหลัก NPK ในปริมาณเล็กน้อยเพียงเท่านั้น แต่จะมีอินทรีย์วัตถุ (OM) ที่ช่วยปรับปรุง และ ปรับสภาพดิน ทำให้ดินกินปุ๋ย และ ดูดซึมธาตุอาหารได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้ควบคู่กันจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะช่วยเติมธาตุอาหาร และ ความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ได้อย่างเต็มที่ และช่วยส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรดีอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ปุ๋ยอินทรีย์ ที่แท้จริงนั้น ต้องเป็นไปตามมาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตร โดยกำหนดให้มี อินทรีย์วัตถุ (OM) ที่พืชสามารถนำไปใช้งานได้ทันที ไม่น้อยกว่า 20% โดยจะมีลักษณะแตกต่างจากปุ๋ยซากพืชสด หรือ ซากสัตว์สด ซึ่งแม้ว่าจะมีอินทรีย์วัตถุ (OM) อยู่บ้าง แต่เมื่อใส่ไปในดินแล้วจะต้องผ่านการย่อยสลายอีกขั้นตอนหนึ่งก่อน พืชจึงจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

สอบถามข้อมูลปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มเติม:

หรือ ติดต่อเรา

ปุ๋ยอินทรีย์ ทํามาจากอะไร?

ปุ๋ยอินทรีย์ผลิตมาจากวัสดุอินทรีย์ที่ผ่านการย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ โดยมีที่มาได้จากวัตถุดิบ 2 ประเภทหลัก ได้แก่:

  1. ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ เช่น มูลวัว มูลค้างคาว มูลไส้เดือน มูลไก่ หรือ อื่นๆ
  2. ปุ๋ยหมักจากพืช เช่น ชานอ้อย กากน้ำตาล แกลบข้าว ซังข้าวโพด เปลือกถั่ว หรือ จากซากพืช เปลือกไม้ ใบไม้อื่นๆ

ปุ๋ยอินทรีย์ที่อยู่ในรูปแบบของซากพืชสด ใบไม้ กิ่งไม้ หรือ มูลสัตว์สดนั้น แท้จริงแล้วจะไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นปุ๋ยอินทรีย์ตามนิยามของกรมวิชาการเกษตรไทยได้ เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์สดกลุ่มนี้ มักจะมีอินทรีย์วัตถุ (OM) ที่พืชนำไปใช้งานได้ทันทีในปริมาณต่ำกว่า 20% ซึ่งเป็นขั้นต่ำที่กรมวิชาการเกษตรไทยกำหนดไว้

ดังนั้นปุ๋ยอินทรีย์ที่อยู่ในรูปแบบซากพืช หรือ มูลสัตว์สด จะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นได้เป็น “สารปรับปรุงดิน” เท่านั้น ตามคำนิยามของกรมวิชาการเกษตรไทย

ปุ๋ยอินทรีย์ ประโยชน์

ปุ๋ยอินทรีย์ มีประโยชน์ในการช่วยปรับปรุงดิน ช่วยเติมอินทรีย์วัตถุ (OM) ในดิน ควรใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมี ที่มีธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) จะช่วยให้พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารหลักได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของ จุลินทรีย์ แบคทีเรีย และ สิ่งมีชีวิตต่างๆในดิน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของต้นพืช ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้แข็งแรง ทำให้พืชกินปุ๋ยได้เต็มที่ ลดการสูญเสียในการเติมธาตุอาหารลงไป

ปุ๋ยอินทรีย์ ข้อดีข้อเสีย

ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์:

  • ช่วยเติมอินทรีย์วัตถุ (OM) ในดิน ทำให้พืชกินปุ๋ยได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ปุ๋ยอินทรีย์บางชนิดมีส่วนผสมของธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) อยู่บ้างในปริมาณเล็กน้อย
  • มีคุณสมบัติในการช่วยปรับปรุงดิน
  • ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของ จุลินทรีย์ แบคทีเรีย และ สิ่งมีชีวิตต่างๆ ในดินที่มีคุณประโยชน์ต่อพืช

ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์:

  • มีปริมาณธาตุอาหารหลัก NPK ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชในปริมาณน้อย จำเป็นต้องใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมี
  • มีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าปุ๋ยเคมี เนื่องจากอินทรีย์วัตถุ (OM) อาจมีการเสื่อมสลายหายไปเมื่อถูกปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน
  • หากกระบวนการผลิตไม่ได้มาตรฐาน อาจมีสิ่งเจือปน เช่น วัชพืช แบคทีเรีย หรือ ไวรัส ต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อพืช
  • มีกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่ซับซ้อน เนื่องจากต้องใช้งานวัตถุดิบชีวภาพ เช่น มูลสัตว์ หรือ ซากพืชซากสัตว์ ในปริมาณมาก
  • มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งวัตถุดิบสูง เนื่องจากต้องใช้ มูลสัตว์ หรือ ซากพืช ซากสัตว์ ในปริมาณมาก มีน้ำหนักสูง

ปุ๋ยอินทรีย์มีกี่ประเภท

ปุ๋ยอินทรีย์อาจถูกผลิตมาจากวัตถุดิบที่แตกต่างกันไป แต่เมื่อผ่านกระบวนการหมักเรียบร้อยแล้วจะสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 3 ประเภทได้แก่

1. ปุ๋ยอินทรีย์ผง

เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้รับความนิยมมาก ผลิตได้ง่ายที่สุด และ มักมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำที่สุด โดยจำเป็นต้องมีอินทรีย์วัตถุ (OM) ที่พืชนำไปใช้ได้ทันทีในปริมาณไม่น้อยกว่า 20% ของน้ำหนักทั้งหมด อาจมีที่มาได้จากทั้งปุ๋ยคอกที่ผลิตจากมูลสัตว์ หรือ ปุ๋ยหมักที่ผลิตจากซากพืช

ปุ๋ยอินทรีย์ผง เหมาะสำหรับการนำมาปรับสภาพดินโดยตรง โดยควรใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมีซึ่งเป็นที่มาของธาตุอาหารหลัก NPK โดยปุ๋ยอินทรีย์ผงนั้นใช้โรยเพื่อเติมอินทรีย์วัตถุ (OM) ในดิน อาจโรยช่วงก่อนเริ่มการปลูกพืชไร่ หรือ อาจโรยเพื่อปรับสภาพดินในไม้ยืนต้น ไม้ผล เพื่อปรับสภาพดินให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ และ ช่วยทำให้พืชกินปุ๋ยได้ดี มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. ปุ๋ยอินทรีย์เม็ด

เป็นปุ๋ยอินทรีย์ในรูปแบบที่ใช้งานได้สะดวก สามารถนำมาผสมใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมีได้ง่าย แต่จะมีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนกว่า และ ต้นทุนที่สูงกว่า ปุ๋ยอินทรีย์ผง เนื่องจากการจะทำให้อยู่ในรูปแบบเม็ดได้นั้น จะต้องนำปุ๋ยอินทรีย์ผง ที่ผ่านการหมักเรียบร้อยแล้ว นำมาปั้นเม็ดต่อให้มีขนาดใกล้เคียงกันตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร และ สุดท้ายแล้วจะต้องมีปริมาณ อินทรีย์วัตถุ (OM) ในปริมาณไม่น้อยกว่า 20% ของน้ำหนักรวม เช่นเดียวกับปุ๋นอินทรีย์ในรูปแบบผง

ปุ๋ยอินทรีย์เม็ด นิยมนำมาผสมใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมี เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของทั้งธาตุอาหารหลักของพืช NPK และ มีส่วนผสมของอินทรีย์วัตถุ (OM) มีประโยชน์คือช่วยปรับปรุงดิน พร้อมเติมธาตุอาหารหลักให้พืชไปในคราวเดียวกัน

3. ปุ๋ยอินทรีย์เคมี

มักอยู่ในรูปแบบเม็ด เป็นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ดมาเป็นวัตถุดิบ ในการผสมกับปุ๋ยเคมี เผื่อให้เป็นปุ๋ยที่มีทั้งส่วนผสมของธาตุอาหารหลัก NPK และ อินทรีย์วัตถุ (OM) โดยจะต้องมี อินทรีย์วัตถุ (OM) ไม่น้อยกว่า 10% ของน้ำหนักทั้งหมด

ปุ๋ยอินทรีย์เคมี

YVP มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีคุณภาพสูง อยู่ภายใต้ชื่อปุ๋ยรามสูร โดยมีทั้งหมด 3 สูตร ได้แก่

  1. ปุ๋ยอินทรีย์เคมีรามสูร สูตร 8-3-3 + S + OM 10%
  2. ปุ๋ยอินทรีย์เคมีรามสูร สูตร 6-6-6 + S + OM 10%
  3. ปุ๋ยอินทรีย์เคมีรามสูร สูตร 4-3-13 + S + OM 10%

ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 8-3-3 รามสูร วายวีพี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 6-6-6 รามสูร วายวีพี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 4-3-13 รามสูร วายวีพี

ปุ๋ยอินทรีย์ กับ ปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยอินทรีย์ และ ปุ๋ยเคมีนั้น แม้ว่าจะเป็นปุ๋ยเหมือนกัน แต่เป็นปุ๋ย 2 ชนิด ที่มีประโยชน์ และ จุดประสงค์ของการใช้งานแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จึงควรใช้งานควบคู่กัน แต่มิใช่ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งทดแทนกันเพียงอย่างเดียวเพราะจะทำให้พืชได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ

ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลัก และ ธาตุอาหารรองของพืช ในปริมาณความเข้มข้นสูง โดยสามารถแบ่งได้ตามประเภทของธาตุอาหารคือ ปุ๋ยไนโตรเจน (N) ปุ๋ยฟอสฟอรัส (P) และ ปุ๋ยโพแทสเซียม (K) จึงเปรียบเสมือนอาหารหลักของพืช ถ้าเปรียบเทียบในคน ก็เหมือน อาหาร 5 หมู่

ในขณะที่ปุ๋ยอินทรีย์นั้น จะมีอินทรีย์วัตถุ (OM) ที่ช่วยปรับปรุงสภาพดิน ทำให้พืชสามารถกินธาตุอาหารหลักจากปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ตัวปุ๋ยอินทรีย์เองเพียงอย่างเดียวนั้น จะมีธาตุอาหารหลัก NPK ในปริมาณที่น้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช

สุดท้าย การใช้งานควบคู่กันระหว่างปุ๋ยอินทรีย์ และ ปุ๋ยเคมี จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ทำให้พืชได้รับธาตุอาหารหลัก พร้อมได้รับอินทรีย์วัตถุ ที่ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ทำให้พืชกินปุ๋ยได้อย่างเต็มที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ต้นโตแข็งแรง และ ให้ผลผลิตที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง และ ยั่งยืน

ปุ๋ยอินทรีย์ใส่ทุเรียน

ปุ๋ยอินทรีย์เป็นอีกส่วนสำคัญในการบำรุง และ ฟื้นฟูต้นทุเรียน สามารถใช้ได้ทั้งในต้นทุเรียนเล็ก และ ต้นทุเรียนหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ด้วยอินทรีย์วัตถุ (OM) จะมีส่วนช่วยในการปรับสภาพดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ และ ทำให้ต้นทุเรียนสามารถกินปุ๋ยได้ดี มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ปุ๋ยอินทรีย์เคมีรามสูร สูตร 8-3-3 + S + OM 10% ตอบโจทย์กับการบำรุงต้นทุเรียน ใช้รองพื้นสำหรับต้นทุเรียนปลูกใหม่ หรือ ใช้บำรุงและฟื้นฟูต้นทุเรียนช่วงหลังการเก็บเกี่ยว

ปุ๋ยอินทรีย์ ใส่ทุเรียน

 

6 thoughts on “ปุ๋ยอินทรีย์ อินทรีย์เคมี คืออะไร มีกี่ประเภท สูตรอะไรบ้าง

  1. ปัญญา​ says:

    ใช้​ 8-3-3 อยู่.. แต่ตอนนี้หาชื้อไม่ได้เลย.. ใช้ดีมาก… ทำงัยดี… ว้าวุ่นละ

  2. Sanga.​ thongthip says:

    ได้การรับรองจากกรมวิชาการเกษตรหรือไม่​ ซื้อได้ที่ไหน​ ราคาเท่าใด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *