ปุ๋ยทางใบ คืออะไร มีกี่ประเภท ดียังไง ควรให้ตอนไหนบ้าง

ปุ๋ยทางใบ

ปุ๋ยทางใบ

ปุ๋ยทางใบ คือ ปุ๋ยเกล็ด หรือ ปุ๋ยน้ำความเข้มข้นสูง ที่มีการนำมาละลายน้ำ และ ใช้ฉีดพ่นเพื่อเติมธาตุอาหารให้แก่พืชทางใบพืช โดยอาจมีทั้งธาตุอาหารหลัก และ ธาตุอาหารรองเสริม ขึ้นอยู่กับแต่ละสูตรของปุ๋ยทางใบนั้นๆ โดยจุดเด่นของปุ๋ยทางใบ คือจะช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารอย่างรวดเร็วมากกว่าการให้ปุ๋ยทางดิน และ ทำให้พืชแสดงผลลัพธ์ของปุ๋ยได้อย่างรวดเร็ว

ข้อมูลปุ๋ยทางใบ:

ปุ๋ยทางใบ ยี่ย้อไหนดี?

ปุ๋ยเกล็ด ฉีดพ่นทางใบจาก YVP แนนซี่ และ ออคิเดนซ์ เป็นปุ๋ยเกล็ดคุณภาพสูง มีวัตถุดิบจากประเทศอิสราเอล และ ประเทศชั้นน้ำหลากหลายประเทศ มีสูตรให้เลือกหลากหลาย คลอบคลุมการใช้งานในทุกพืช ทุกช่วงอายุการใช้งาน มีโรงงานการผลิตที่ได้มาตรฐาน ISO 9001:2015

เกษตรกรจึงมั่นใจได้ว่า ปุ๋ยเกล็ด ฉีดพ่นทางใบ จาก YVP GROUP จะมีคุณภาพยอดเยี่ยม และ มีส่วนช่วยในการเพิ่มผลผลิต และ บำรุงพืช ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สอบข้อมูลปุ๋ยทางใบเพิ่มเติมได้ที่:

หรือ ติดต่อเรา

ปุ๋ยทางใบดีอย่างไร?

ข้อดีของปุ๋ยทางใบ คือ เป็นปุ๋ยที่มีการละลายน้ำแล้ว และ เป็นการให้อาหารไปที่ใบพืชโดยตรง ทำให้พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารได้ทันที และ สามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การให้ปุ๋ยทางใบ ยังสามารถช่วยลดปัจจัยความเสี่ยงในเรื่องความสมบูรณ์ของดิน ซึ่งในพื้นที่ที่ดินไม่สมบูรณ์นั้น อาจมีปัญหาพืชไม่กินปุ๋ย หรือ ธาตุอาหารโดนตรึงเอาไว้ในดินได้

การให้ปุ๋ยทางใบ จึงเป็นอีกทางเลือกในการเติมธาตุอาหารในพืชแบบเร่งด่วน ควบคู่กับการให้ปุ๋ยทางดิน โดยช่วยเสริมให้พืชได้รับอาหารอย่างครบถ้วน และ ทั่วถึง ตลอดช่วงอายุของพืช และ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในพืชที่เริ่มแสดงอาการขาดธาตุอาหารได้ด้วย เพื่อช่วยรักษาให้พื้นฟื้นฟูกลับมามีสภาพแข็งแรงได้อย่างทันท่วงที

ข้อจำกัดของปุ๋ยทางใบ

แม้ว่าปุ๋ยทางใบ จะเป็นตัวเลือกที่ดีในการเติมธาตุอาหารให้พืชอย่างรวดเร็วก็ตาม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยทางดินแล้ว การให้ปุ๋ยทางใบนั้น พืชจะมีขีดจำกัดในการดูดซึมธาตุอาหารที่น้อยกว่า และ ปุ๋ยทางใบนั้น ก็ยังระเหิดระเหย และ สูญเสีย ได้รวดเร็วกว่าปุ๋ยที่ใส่ไปทางดินเช่นกัน นอกจากนี้ การให้ปุ๋ยทางใบ อย่างไม่ถูกต้อง หรือ ให้ในปริมาณที่เข้มข้นมากจนเกินไป ก็ยังเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้ ใบพืชไหม้ ก่อเกิดให้เป็นความเสียหายต่อพืชได้อีกด้วย สุดท้าย การให้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียว จึงอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชในระยะยาว

ดังนั้น เราจึงแนะนำว่า เกษตรกร ควรเลือกใช้ปุ๋ยทั้ง 2 รูปแบบ ทั้งทางดิน และ ทางใบ ควบคู่กัน จึงจะเป็นการเติมธาตุอาหารให้พืช ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยพืชจะได้รับธาตุอาหารปริมาณมากเป็นปริมาณหลัก จากปุ๋ยทางดิน แล้ว จากนั้น จึงเลือกเติมธาตุอาหารเพิ่มเติม ตามช่วงเวลาที่พืชต้องการ หรือ ตามอาการที่พืชแสดง ด้วยปุ๋ยทางใบ เพื่อให้พืชได้รับธาตุอาหารอย่างครบถ้วน ต่อเนื่อง ในปริมาณที่เพียงพอ และ มีความแข็งแรง มีความพร้อม ที่จะให้ผลผลิตที่ดีได้ ในลำดับถัดไป

ปุ๋ยทางใบควรใส่เวลาใด? 

ปุ๋ยทางใบ ควรเลือกใส่ในช่วงเวลาที่มีแสงแดดน้อย คือ ช่วงเช้า หรือ ช่วงเย็น เนื่องจากแสงแดดนั้นจะทำให้น้ำที่ฉีดพ่นไปที่ใบระเหยอย่างรวดเร็ว และ อาจเป็นความเสี่ยงทำให้ใบพืชไหม้ และ ใบพืชไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารที่ให้ไปได้อย่างเต็มที่

ปุ๋ยทางใบ ให้ทางดินได้ไหม?

ปุ๋ยทางใบ ในรูปแบบปุ๋ยเกล็ดนั้น สามารถนำมาให้ทางดินได้เช่นกัน โดยมีจุดเด่นคือสามารถละลายน้ำได้อย่างรวดเร็ว ทำให้พืชดูดซึมธาตุอาหาร และ แสดงผลได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน แต่โดยธรรมชาติแล้วปุ๋ยทางใบนั้น มักมีราคา ต่อ ปริมาณธาตุอาหารที่สูงกว่าปุ๋ยทางดิน จึงอาจเกิดเป็นต้นทุนที่สูงขึ้นได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยทางดินทั่วไป

ข้อมูลเพิ่มเติมการใช้งานปุ๋ยเกล็ด ทางใบ – ระบบน้ำ

 

สูตรปุ๋ยทางใบ มีกี่ประเภท?

ปุ๋ยทางใบนั้นมีหลากหลายสูตรให้เกษตรกรสามารถเลือกใช้ได้ ตามแต่ละช่วงอายุของพืช โดยอาจแบ่งออกมาได้เป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่

  1. ปุ๋ยเกล็ด เร่งต้นใบ เร่งการเจริญเติบโต: ได้แก่ ปุ๋ยสูตร ที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน (N) สูง เช่น 25-5-5, 30-20-10, หรือ 30-10-10
  2. ปุ๋ยเกล็ด เร่งดอก สะสมอาหาร: ได้แก่ ปุ๋ยสูตร ที่มีธาตุอาหารฟอสฟอรัส (P) สูง เช่น 0-42-56 หรือ 5-55-20
  3. ปุ๋ยเกล็ด เร่งผลผลิต ลมเบ่ง เร่งเต่ง: ได้แก่ ปุ๋ยสูตร ที่มีธาตุอาหารโพแทสเซียม (K) สูง เช่น 13-0-46, 13-5-42, 3-3-50, 0-0-60, หรือ 0-0-61
  4. ปุ๋ยเกล็ด สูตรเสมอ บำรุงทั่วไป: ได้แก่ 20-20-20 หรือ 21-21-21

 

ปุ๋ยทางใบใส่นาข้าว

ปุ๋ยทางใบในนาข้าว แนะนำ ฉีดพ่นเป็น 3 ช่วง ได้แก่

  1. ช่วงเร่งต้น ใช้สูตร 25-5-5 หรือ 30-10-10 ปริมาณ 1 กก. ละลายน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น 5 – 10 ไร่
  2. ช่วงเร่งการแตกกอ ใช้สูตร 20-20-20 หรือ 10-52-16 ปริมาณ 1 กก. ละลายน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น 5 – 10 ไร่
  3. ช่วงรับท้อง รับรวง เร่งผลผลิต ใช้สูตร 13-5-42 หรือ 3-3-50 ปริมาณ 1 กก. ละลายน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น 5 – 10 ไร่

ตารางแนวทางการใส่ปุ๋ยข้าว

ปุ๋ยทางใบนาข้าว

 

ปุ๋ยทางใบใส่อ้อย

ปุ๋ยทางใบในอ้อย แนะนำ ฉีดพ่นเป็น 2 ช่วง ได้แก่

  1. ช่วงเร่งต้น เร่งราก เร่งการแตกกอ ใช้สูตร 25-5-5, 30-20-10 หรือ 30-10-10 ปริมาณ 1 กก. ละลายน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น 5 – 10 ไร่
  2. ช่วงเร่งผลผลิต สร้างน้ำตาล ใช้สูตร 13-5-42 หรือ 3-3-50 ปริมาณ 1 กก. ละลายน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น 5 – 10 ไร่

ตารางแนวทางการใส่ปุ๋ยอ้อย

ปุ๋ยทางใบใส่อ้อย

 

ปุ๋ยทางใบใส่ทุเรียน

ปุ๋ยทางใบในทุเรียน แนะนำให้ใช้งานตามแต่ละช่วงระยะ ได้แก่

1. ช่วงเร่งต้น เร่งใบ เร่งการเจริญเติบโต ใช้ปุ๋ยเกล็ดแนนซี่ สูตร 25-5-5

ปุ๋ยทางใบทุเรียน เร่งต้น

2. ช่วงสะสมอาหาร เร่งดอก ใช้ปุ๋ยเกล็ดแนนซี่ สูตร 10-52-17

ปุ๋ยทางใบ สะสมอาหาร ทุเรียน

3. ช่วงขยายผล สร้างเนื้อ สร้างภู ใช้ปุ๋ยเกล็ดแนนซี่ สูตร 10-20-30

ปุ๋ยทางใบ ขยายผล ทุเรียน

4. ช่วงฟื้นฟู บำรุงต้น ใช้ปุ๋ยเกล็ดแนนซี่ สูตร 20-20-20

ปุ๋ยฟื้นฟูต้น ทุเรียน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *