สารบัญข้อมูลปุ๋ย
ปุ๋ยคืออะไร ?
ปุ๋ย คือวัสดุที่มีสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช หรือ มีองค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชให้เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง โดยปุ๋ยแต่ละชนิดก็จะมีสารอาหารที่แตกต่างกัน และ มีบทบาทในการบำรุงพืชที่แตกต่างกันไป โดยสารอาหารหลักในปุ๋ยที่มีความสำคัญได้แก่
- ธาตุอาหารหลักของพืช NPK ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) ซึงเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญมากที่สุดต่อการเจริญเติบโตของพืช และ พืชทุกชนิดจะต้องการในปริมาณมาก ถ้าเปรียบกับคนก็เสมือนอาหารหลัก 5 หมู่ของเรานั้นเอง โดยบทบาทของธาตุอาหารเหล่านี้คือ
- ไนโตรเจน (N) คือธาตุอาหารที่พืชใช้เพื่อการสร้างใบ สร้างต้น เร่งการเจริญเติบโต เป็นส่วนประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ซึ่งพืชต้องใช้เพื่อการสังเคราะห์แสง และ สร้างพลังงาน
- ฟอสฟอรัส (P) คือธาตุอาหารที่พืชใช้เพื่อการสร้างรากในช่วงแรกของการเจริญเติบโตของพืช และ ยังมีบทบาทในการสร้างดอกในช่วงเริ่มให้ผลผลิตของพืช
- โพแทสเซียม (K) คือธาตุอาหารที่พืชใช้เพื่อการสร้างผลผลิต สร้างเนื้อ สร้างแป้ง สร้างน้ำตาล ขยายขนาดของผลผลิต
- ธาตุอาหารรอง – เสริม ของพืช โดยเป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญรองลงมา พืชจะต้องการบ้างในปริมาณเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยธาตุอาหารรองเสริมมีจำนวนมากถึง 10 – 20 ธาตุอาหาร ขึ้นอยู่กับความต้องการของพืชแต่ละชนิด แต่ธาตุที่มีความสำคัญ และ พืชทุกชนิดมีความต้องการได้แก่
- ซัลเฟอร์ (S)
- แคลเซียม (Ca)
- แมกนีเซียม (Mg)
- อินทรีย์วัตถุ (Organic Matter) คือสารที่เติมเพื่อช่วยปรับสภาพดิน โดยอินทรีย์วัตถุนั้นอาจไม่ใช่อาหารพืชโดยตรง แต่มีบทบาทในการช่วยทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ และ ทำให้พืชสามารถดูดซึม และนำธาตุอาหารหลักไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอินทรีย์วัตถุนั้นจะพบมากในปุ๋ยอินทรีย์ เช่น มูลไก่ มูลวัว หรือ ซากพืช ซากสัตว์อื่นๆ
- จุลินทรีย์ แบคทีเรีย และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆในดิน เป็นอีกส่วนที่เกษตรกรสามารถเลือกเติมเข้าไปในดินได้ มักพบมากในปุ๋ยชีวภาพ จะมีลักษณะคล้ายอินทรีย์วัตถุ คือแม้จะไม่ใช่อาหารพืชโดยตรง แต่มีส่วนช่วยในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ และ เพิ่มความสามารถในการดูดซึม และ ใช้งานปุ๋ย ในพืช
สอบถามข้อมูล ราคาปุ๋ย หรือ ติดต่อสั่งซื้อปุ๋ยทุกประเภทได้ที่:
YVP GROUP โดยเราคือผู้นำเข้า ผลิต และ จัดจำหน่าย ปุ๋ยเคมี และ ปุ๋ยเคมีอินทรีย์ สำหรับการใช้งาน คลอบคลุมทุกประเภท ทุกพืช และ ทุกภูมิภาคในประเทศไทย เรามีประสบการณ์ยาวนานกว่า 37 ปี พร้อมมีโรงงาน และ เครื่องจักร ที่มีมาตรฐาน ISO 9001:2015 ถึง 2 แห่ง
หรือ ติดต่อเรา
ปุ๋ยมีกี่ประเภท ?
ปุ๋ยสามารถแบ่งตามคุณสมบัติของปุ๋ยได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่:
- ปุ๋ยเคมี – เป็นอาหารหลักโดยตรงของพืช มักจะมีปริมาณธาตุอาหารหลัก NPK และ ธาตุอาหารรองเสริม ในปริมาณสูง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่พืชต้องใช้เพื่อให้สามารถเจริญเติบโต และ ให้ผลผลิตที่ดีได้อย่างยั่งยืน โดยปุ๋ยเคมีนั้นสามารถจำแนกย่อยออกได้เป็น
- แม่ปุ๋ยเคมี คือวัตถุดิบปุ๋ยเคมีที่มักมีธาตุอาหารเพียง 1 – 2 ธาตุอาหาร เช่น แม่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0, แม่ปุ๋ย DAP 18-46-0 และ แม่ปุ๋ย MOP 0-0-60
- ปุ๋ยเคมีสูตร / ปุ๋ยเคมีเชิงผสม คือปุ๋ยสำเร็จรูปที่ผ่านการผสมแม่ปุ๋ยเคมีมาแล้ว โดยจะมีธาตุอาหารที่แตกต่างกันไปในแต่ละสูตร เพื่อใช้งานในแต่ละพืช แต่ละช่วงอายุ ที่แตกต่างกัน โดยมักจะมี ทั้งธาตุอาหารหลัก NPK และ ธาตุอาหารรองเสริม เช่น ซัลเฟอร์ (S) แคลเซียม (Ca) และ แมกนีเซียม (Mg)
- ปุ๋ยอินทรีย์ / อินทรีย์เคมี – เป็นปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารหลัก NPK ของพืชในปริมาณเล็กน้อย แต่มีอินทรีย์วัตถุในปริมาณมาก จึงมีบทบาทในการช่วยปรับปรุงดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน แต่จะมีปริมาณธาตุอาหารหลักน้อยเกินกว่าที่จะเป็นอาหารพืชได้โดยตรง จึงควรใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมี เพื่อให้พืชได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
- ปุ๋ยชีวภาพ – เป็นปุ๋ยที่มีส่วมผสมของจุลินทรีย์ แบคทีเรีย หรือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่มีประโยชน์ต่อดิน และ พืช โดยคล้ายปุ๋ยอินทรีย์ คือปุ๋ยชีวภาพจะไม่ได้มีส่วนประกอบของธาตุอาหารหลัก NPK ของพืช แต่มีส่วนช่วยในการปรับสภาพดินให้อุดมสมบูรณ์
ปุ๋ยใช้งานยังไง ?
ปุ๋ยมีรูปแบบการใช้งานหลักทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่
- ใช้ใส่ลงในดินโดยตรง – โดยมักจะใช้งานผ่านปุ๋ยรูปแบบเม็ด โดยสามารถใช้มือหว่านได้โดยตรง หรือ อาจใช้การหว่านผ่านเครื่องหว่านปุ๋ย หรือ รถหว่านปุ๋ยก็ได้เช่นกัน
- ใช้ละลายผ่านระบบน้ำ สปริงเกอร์ หรือ ระบบน้ำหยด – โดยมักใช้ในรูปแบบปุ๋ยเกล็ด ซึ่งสามารถละลายน้ำได้อย่างรวดเร็ว และ ละลายได้หมด 100% ช่วยลดอาการอุดตันได้
- ใช้ฉีดพ่นทางใบ – โดยมักเป็นปุ๋ยเกล็ด หรือ ปุ๋ยน้ำรูปแบบเข้มข้น ที่นำมาผสมน้ำเพิ่มเติมแล้วฉีดพ่นทางใบ มีข้อดีคือทำให้พืชได้รับธาตุอาหารอย่างรวดเร็วมากกว่าการให้ปุ๋ยทางดิน แต่ประสิทธิภาพอาจไม่คลอบคลุมเท่า
ปุ๋ยแต่ละชนิด มีข้อดี ข้อเสีย อะไรบ้าง
ปุ๋ย เป็นปัจจัยหลัก และ ปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยให้พืชเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมบูรณ์ แข็งแรง และ มีความพร้อมในการให้ผลผลิตที่ดีได้ โดยปุ๋ยทุกชนิดนั้น หากใช้งานอย่างถูกวิธี ในปริมาณที่เหมาะสม ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์อย่างมากต่อพืช แต่ในขณะเดียวกัน หากใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง ในปริมาณที่มากหรือน้อยจนเกินไป ก็อาจเกิดโทษ หรือ ผลกระทบข้างเคียงต่อพืช และ ต่อสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน
- ข้อดี / ข้อเสีย ของปุ๋ยเคมี
- ข้อดีของปุ๋ยเคมี: เป็นสารอาหารหลักของพืช มีความเข้มข้นสูง มีปริมาณธาตุอาหารต่อน้ำหนักที่สูง มักอยู่ในรูปแบบ เม็ด หรือ ผง มีความสะดวกในการใช้งาน สามารถขนส่ง และ เก็บรักษาได้ยาวนานมากกว่าปุ๋ยชนิดอื่นๆ
- ข้อเสียของปุ๋ยเคมี: เนื่องจากเป็นปุ๋ยที่สกัดมาให้มีความเข้มข้นของธาตุอาหารที่สูง หากใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง อาจเกินความจำเป็น ก่อให้เกิดเป็นการสูญเสีย และ มลพิษได้ และ หากใช้งานเพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้ควบคู่กับปุ๋ยอินทรีย์ หรือ ปุ๋ยชีวภาพ ก็อาจทำให้สภาพดินค่อยๆเสื่อมลงในระยะยาว ทำให้พืชไม่สามารถกินปุ๋ยได้เต็มที่
- ข้อดี / ข้อเสีย ของปุ๋ยอินทรีย์
- ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์: มีปริมาณอินทรีย์วัตถุสูง ช่วยเติมความสมบูรณ์ให้ดิน ช่วยให้พืชสามารถกินปุ๋ยได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์: มีปริมาณธาตุอาหารหลัก NPK ที่น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงจำเป็นต้องใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมีเพื่อให้พืชได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
ข้อมูลปุ๋ย – การเกษตร น่าสนใจเพิ่มเติม:
- แม่ปุ๋ย คืออะไร มีสูตรอะไรบ้าง มีที่มาจากไหนบ้าง
- ปุ๋ยผสมเบาค์เบลน (Bulk Blending Fertilizer) คืออะไร
- 46-0-0 แม่ปุ๋ยยูเรีย
- 18-46-0 ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (DAP)
- 0-0-60 ปุ๋ยโพแทสเซียมจากน้ำทะเล
- การใส่ปุ๋ยในนาข้าว
- การใส่ปุ๋ยในข้าวโพด
- การใส่ปุ๋ยในมันสำปะหลัง
- ตารางการใส่ปุ๋ยอ้อย
- การใส่ปุ๋ยในปาล์มน้ำมัน
- การใส่ปุ๋ยในยางพารา
- การใส่ปุ๋ยในทุเรียน
- ตารางสูตรปุ๋ยใส่สัปปะรด
ปุ๋ยอินทรีย์ได้จากพืชหรือสัตว์อย่างไหนดีกว่ากัน เพราะอะไร
ปุ๋ยอินทรีย์เมื่อผ่านการหมัก-บ่น มาเรียบร้อยแล้ว คุณภาพจะดีหรือไม่ วัดได้จากธาตุอาหาร เช่น ค่าอินทรีย์วัตถุ (OM) และ ค่า N-P-K อื่นๆ ครับ
*พืชจะนำธาตุอาหารดินไปใช้ในรูปของสารละลาย ขอสอบถามว่าธาตุอาหารเช่น แคลเซี่ยมซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในเปลือกไข่ หากนำมาบดละเอียดขนาดเท่าผงแป้ง แล้วเรานำเอาผงแป้ง(เปลือกไข่)นั้น นำไปแช่น้ำนานๆจนละลายจนเป็นส่วนหนึ่งของน้ำ แล้วลาดลงโคนต้นไม้ มันจะเลียนแบบหรือใกล้เคียง กับที่ต้นไม้จะดูดซึมไปใช้ ได้เหมือนธรรมชาติมั้ยครับ?
มีประโยชน์อยู่บ้างค่ะ แต่อาจต้องใช้เวลาในการย่อยสลายก่อน พืชจึงจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และ ปริมาณสารธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชก็อาจจะไม่ได้มีปริมาณมาก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ย ซึ่งเป็นการสกัดธาตุอาหารที่พืชต้องการออกมาในรูปแบบความเข้มข้นสูง และ ละลายนำได้ทันที