ตารางการปลูก – ใส่ปุ๋ย ข้าวโพดหน้าแล้ง ด้วยระบบน้ำหยด

ตารางการใส่ปุ๋ยเกล็ดข้าวโพดหน้าแล้งระบบน้ำหยด

แนวทางการปลูก และ การใส่ปุ๋ย ด้วยระบบน้ำหยด ในข้าวโพดเมล็ดพันธุ์ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ ข้าวโพดหวาน

สารบัญ

 

สูตรปุ๋ยข้าวโพดระบบน้ำหยด

เกษตรกรควรให้ปุ๋ยข้าวโพด ในทุกๆ 7 วัน หลังจากการเริ่มลงปลูก โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ช่วงการใช้งานได้ดังนี้:

  • ช่วงที่ 1 ช่วงตั้งต้นข้าวโพด อายุ 7 – 14 วัน ใช้ปุ๋ยออคิเดนซ์ สูตร 20-20-20 หรือ 21-21-21 ในปริมาณ 3 – 5 กก. ต่อ ไร่ ทุกๆ 7 วัน
  • ช่วงที่ 2 ช่วงเร่งต้นเร่งการเจริญเติบโตข้าวโพด อายุ 21 – 35 วัน ใช้ปุ๋ยออคิเดนซ์ สูตร 33-5-3 หรือ 35-4-4 ในปริมาณ 3 – 5 กก. ต่อ ไร่ ทุกๆ 7 วัน
  • ช่วงที่ 3 ช่วงบำรุงดอกสะสมอาหารข้าวโพด อายุ 42 – 63 วัน ใช้ปุ๋ยออคิเดนซ์ สูตร 8-24-24 หรือ 20-20-20 ในปริมาณ 3 – 5 กก. ต่อ ไร่ ทุกๆ 7 วัน
  • ช่วงที่ 4 ช่วงเร่งฝักบำรุงผลผลิตข้าวโพด อายุ 70 – 105 วัน ใช้ปุ๋ยออคิเดนซ์ สูตร 16-7-32 หรือ 15-6-35 ในปริมาณ 3 – 5 กก. ต่อ ไร่ ทุกๆ 7 วัน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปุ๋ยข้าวโพด ติดต่อ YVP GROUP

หรือ ติดต่อเรา

 

ข้อดี / จุดเด่น ของการปลูกข้าวโพดด้วยระบบน้ำหยด

  • มีความแม่นยำ และ ต่อเนื่อง ในการให้น้ำ และ ให้ปุ๋ย ที่มากกว่า เมื่อเทียบกับการให้ปุ๋ยทางดินทั่วไป
  • ปุ๋ยเกล็ดระบบน้ำออคิเดนซ์ สามารถละลายน้ำได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ต้นข้าวโพดได้รับธาตุอาหารทันที เหมาะสมอย่างมากกับการปลูกในฤดูแล้งที่ฝนอาจทิ้งช่วง
  • ช่วยประหยัดแรงงาน สามารถแบ่งให้น้ำ และ ให้ปุ๋ยได้ทุกๆ 7 วัน ทำให้ข้าวโพดได้รับธาตุอาหารต่อเนื่อง ช่วยลดการสูญเสียจากการให้ปุ๋ยต่อครั้งที่มากจนเกินไป
  • สามารถเก็บข้อมูล การให้น้ำ และ ให้ปุ๋ย ได้อย่างเป็นระบบ และ ละเอียดแม่นยำ ทำให้สามารถพัฒนาขั้นตอนและกระบวนการให้เหมาะสมกับในแต่ละพื้นที่ เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

สูตรปุ๋ยข้าวโพดเล็ก อายุ 7 – 14 วัน

ข้าวโพดเล็กอายุ 7 – 14 วัน ใช้ปุ๋ยออคิเดนซ์ สูตร 20-20-20 หรือ 21-21-21 โดยให้ปุ๋ยปริมาณ 3 – 5 กิโลกรัมต่อไร่ ทุกๆ 7 วัน

20-20-20ปุ๋นเกล็ดระบบน้ำ 21-21-21 ออคิเดนซ์แนนซี่

ในช่วงข้าวโพดเล็ก ตั้งต้นข้าวโพด เกษตรกรควรเลือกสูตรปุ๋ยที่สามารถเติมธาตุอาหารให้ต้นข้าวโพดได้อย่างครบถ้วน เพื่อให้ต้นข้าวโพดสามารถตั้งต้นได้เร็ว มีความสมบูรณ์แข็งแรงในการเจริญเติบโต ทนต่อโรค และ แมลง และ มีความพร้อมในการให้ผลผลิตที่ดีได้ในลำดับถัดไป

ในช่วงนี้เกษตรกรไม่ควรมุ่งเน้นที่การให้ปุ๋ยไนโตรเจน (N) เพียงอย่างเดียว เพราะแม้ว่าจะทำให้ต้นข้าวโพดเจริญเติบโตได้รวดเร็ว แต่อาจจะไม่สมบูรณ์แข็งแรง และ อาจทำให้ต้นข้าวโพดอ่อนแอ และ มีความเสี่ยงต่อโรค และ แมลงได้ ในภายหลัง

 

 

สูตรปุ๋ยเร่งต้นเร่งการเจริญเติบโต ข้าวโพด อายุ 21 – 35 วัน

ข้าวโพดช่วงเร่งต้น อายุ 21 – 35 วัน ใช้ปุ๋ยออคิเดนซ์ สูตร 33-5-3 หรือ 35-4-4 โดยให้ปุ๋ยปริมาณ 3 – 5 กิโลกรัมต่อไร่ ทุกๆ 7 วัน

ปุ๋นเกล็ดระบบน้ำ 33-5-3 ออคิเดนซ์ปุ๋นเกล็ดระบบน้ำ 35-4-4 ออคิเดนซ์แนนซี่

เมื่อผ่านช่วงตั้งต้นมาแล้ว ลำดับถัดไปคือการเร่งต้น เร่งการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพด ทาง YVP GROUP จึงแนะนำปุ๋ยที่มีไนโตรเจน (N) สูง ได้แก่ปุ๋ยสูตร 33-5-3 หรือ 35-4-4 โดยนอกจากจะมีธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ที่สูงแล้ว ยังมีปริมาณธาตุอาหาร ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) ในปริมาณที่เหมาะสม ทำให้ต้นข้าวโพดได้รับธาตุอาหารอย่างครบถ้วน และ สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และ แข็งแรง ทำให้มีความพร้อมต่อการให้ผลผลิตที่ดีได้ต่อไป

 

สูตรปุ๋ยเร่งดอกสะสมอาหาร ข้าวโพด อายุ 42 – 63 วัน

ข้าวโพดช่วงเร่งต้น อายุ 42 – 63 วัน ใช้ปุ๋ยออคิเดนซ์ สูตร 8-24-24 หรือ 7-25-25 หรือ 20-20-20 โดยให้ปุ๋ยปริมาณ 3 – 5 กิโลกรัมต่อไร่ ทุกๆ 7 วัน

ปุ๋นเกล็ดระบบน้ำ 8-24-24 ออคิเดนซ์ปุ๋นเกล็ดระบบน้ำ 7-25-25 ออคิเดนซ์แนนซี่

ในช่วงของการเร่งดอกสะสมอาหาร ต้นข้าวโพดจะเริ่มมีความต้องการธาตุอาหาร ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) ในปริมาณที่สูงมากขึ้น เพื่อช่วยในการสร้างดอก และ เริ่มเตรียมสะสมอาหารเพื่อใช้ในการสร้างฝักข้าวโพดในลำดับถัดไป

 

สูตรปุ๋ยเร่งฝัก บำรุงผลผลิต ข้าวโพด อายุ 70 – 105 วัน

ข้าวโพดช่วงเร่งต้น อายุ 70 – 105 วัน ใช้ปุ๋ยออคิเดนซ์ สูตร 16-7-32 หรือ 15-6-35 โดยให้ปุ๋ยปริมาณ 3 – 5 กิโลกรัมต่อไร่ ทุกๆ 7 วัน

ปุ๋ยเกล็ดระบบน้ำ 16-7-32 ออคิเดนซ์ปุ๋ยเกล็ดระบบน้ำ 15-6-35 ออคิเดนซ์แนนซี่

ในช่วงของการบำรุงฝัก และ บำรุงผลผลิตนั้น ข้าวโพดจะเริ่มมีความต้องการธาตุอาหาร โพแทสเซียม (K) ในปริมาณมากที่สุด เนื่องจากเป็นธาตุอาหารที่มีบทบาทโดยตรงต่อการสร้างเนื้อ สร้างเมล็ด สร้างฝัก ของข้าวโพดโดยตรง นอกจากนี้ ข้าวโพดจะยังมีความต้องการธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อช่วยในการสังเคราะห์แสง สร้างพลังงาน เพื่อใช้ในการสร้างฝักอีกด้วย ในขณะที่ธาตุอาหารฟอสฟอรัส (P) จะเป็นธาตุอาหารที่ข้าวโพดต้องการน้อยที่สุดในช่วงของการบำรุงฝัก และ บำรุงผลผลิต

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *