การใส่ปุ๋ยยางพารา
- ปุ๋ยยางเล็ก อายุ 1 – 2 ปี: ใส่ปุ๋ยแนนซี่ สูตร 27-5-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-3-4 ปริมาณ 300 – 400 กรัมต่อต้น
- ปุ๋ยยางก่อนเปิดกรีด อายุ 3 – 6 ปี: ใส่ปุ๋ยแนนซี่ สูตร 27-5-5 หรือ 20-10-12 หรือ 15-7-18 ปริมาณ 500 – 600 กรัมต่อต้น
- ปุ๋ยยางเปิดกรีด อายุ 7 ปี ขึ้นไป: ใส่ปุ๋ยแนนซี่ สูตร 22-6-22 หรือ 20-3-20 หรือ 15-7-18 ปริมาณ 500 – 600 กรัมต่อต้น
สารบัญ
- ปรึกษาข้อมูลยางพารา
- ปุ๋ยยางเล็ก
- ปุ๋ยยางก่อนเปิดกรีด
- ปุ๋ยยางใหญ่เปิดกรีด
- ปุ๋ยยางยี่ห้อไหนดี
- อาการขาดธาตุอาหารในยางพารา
สอบถามราคา หรือ ข้อมูลปุ๋ยยางพาราเพิ่มเติมได้ที่:
หรือ ติดต่อเรา
ปุ๋ยยางพาราเล็ก
- สูตรที่แนะนำ: ปุ๋ยแนนซี่ สูตร 27-5-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-3-4
- ปริมาณการใส่: 300 กรัม/ต้น สำหรับดินเหนียว หรือ 400 กรัม/ตัน สำหรับดินทราย
- ข้อมูล: ช่วงยางพาราเล็กจะมีความต้องการธาตุอาหารไนโตรเจน (N) มากที่สุด เพื่อช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต ของลำต้น และ ใบ ทำให้ตั้งต้นได้เร็ว ต้นโตเร็วสมบูรณ์ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีความต้องการธาตุอาหาร ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) ด้วยในปริมาณพอเหมาะ เพื่อให้ต้นยางพาราได้รับธาตุอาหารครบถ้วน เติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง ทนต่อโรค และ แมลง
ปุ๋ยยางพาราก่อนเปิดกรีด
- สูตรที่แนะนำ: ปุ๋ยแนนซี่ สูตร 27-5-5 หรือ 20-10-12 หรือ 15-7-18
- ปริมาณการใส่: 500 กรัม/ต้น สำหรับดินเหนียว หรือ 600 กรัม/ตัน สำหรับดินทราย
- ข้อมูล: เมื่อยางพาราเริ่มเติบโตขึ้น จะเริ่มมีความต้องการธาตุอาหาร ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) ที่เพิ่มมากขึ้น เพิ่มเติมจากธาตุอาหารไนโตรเจน (N) เพื่อช่วยบำรุงราก บำรุงต้น และ เตรียมพร้อมในการบำรุงน้ำยางพารา เพื่อให้ต้นยางพารามีความสมบูรณ์แข็งแรง และ มีความพร้อมในการให้ผลผลิตที่ดีได้ในลำดับถัดไป
ปุ๋ยยางพาราใหญ่ช่วงเปิดกรีด
- สูตรที่แนะนำ: ปุ๋ยแนนซี่ สูตร 22-6-22 หรือ 20-3-20 หรือ 15-7-18
- ปริมาณการใส่: 500 กรัม/ต้น สำหรับดินเหนียว หรือ 600 กรัม/ตัน สำหรับดินทราย
- ข้อมูล: ช่วงยางพาราเปิดกรีดนั้น จะมีความต้องการธาตุอาหาร ไนโตรเจน (N) และ โพแทสเซียม (K) มากที่สุด ในขณะที่ความต้องการธาตุอาหาร ฟอสฟอรัส (P) จะลดลง โดยไนโตรเจน (N) จะมีส่วนช่วยในการสร้างพลังงาน เป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์ที่มีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์แสง ทำให้ใบเขียว ลำต้นยางพาราสมบูรณ์แข็งแรง และ โพแทสเซียม (K) จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยลำเลียงธาตุอาหารต่างๆ มีส่วนช่วยในการบำรุงผลผลิตยางพารา ทำให้น้ำยางเยอะ และ ยังมีส่วนช่วยให้ต้นยางพาราต้นต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ดีอีกด้วย
ปุ๋ยยางพารายี่ห้อไหนดี?
ปุ๋ยยางพาราแนะนำปุ๋ยแนนซี่ เนื่องจาก
- ปุ๋ยแนนซี่ มีส่วนผสมของ ปุ๋ยโพแทสเซียม 0-0-60 คุณภาพสูง ที่ผลิตจากน้ำทะเลอิสราเอล มีความบริสุทธิ์สูง ละลายน้ำได้ดีเยี่ยม โดย โพแทสเซียม (K) เป็นธาตุอาหารหลักในการบำรุงผลผลิตยางพารา ทำให้น้ำยางออกดี ต่อเนื่อง ผลผลิตสูง และ ยังมีบทบาทในการลำเลียงธาตุอาหารอื่นๆให้แก่ต้นยางพารา และ ยังช่วยให้ต้นยางพาราทนต่อสภาพอากาศแล้งได้ดี
- ปุ๋ยแนนซี่ มีส่วนผสมของธาตุอาหารไนโตรเจน (N) จาก 2 แหล่ง คือ จากปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 และ จากปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0 เป็นการดึงจุดเด่นของปุ๋ยทั้ง 2 ตัว คือ คุณสมบัติละลายเร็ว ทำให้ต้นยางพาราได้กินไว จากยูเรีย 46-0-0 และ ละลายช้า ทำให้ได้กินอย่างต่อเนื่อง จากแอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0 จึงทำให้ปุ๋ย YVP และ แนนซี่ มีธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ให้ต้นยางพาราได้กินอย่างต่อเนื่อง ลำต้นแข็งแรง ใบเขียวทนนาน สมบูรณ์แข็งแรง ผลผลิตสูง
- ปุ๋ยแนนซี่ ทุกเม็ดคือปุ๋ย มีส่วนผสมของธาตุอาหารรองเสริมถึง 3 ธาตุอาหาร ได้แก่ ซัลเฟอร์ (S) แคลเซียม (Ca) และ แมกนีเซียม (Mg) ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต ของต้นยางพารา และ ยังมีส่วนช่วยในการปรับสภาพดิน ทำให้พืชสามารถดูดซึม และ กินธาตุอาหารหลัก NPK ได้อย่างเต็มที่ ทำให้ต้นแข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับการให้ผลผลิตที่ดีได้
- ปุ๋ยแนนซี่ ผลิตโดยโรงงาน และ เครื่องจักร ที่มีมาตรฐาน ISO 9001:2015 พร้อมประสบการณ์การผลิตยาวนานกว่า 37 ปี จึงมั่นใจได้ว่าเป็นปุ๋ยเต็มสูตร คุณภาพสูง ช่วยเพิ่มผลผลิตได้จริง
อาการขาดธาตุอาหารในต้นยางพารา
- ยางพาราขาดธาตุในโตรเจน (N): ในต้นยางอ่อนที่ยังไม่แตกกิ่งก้าน ใบแก่หรือใบล่างมีสีซีด โดยทั่วไปมีสีสม่ำเสมอทั้งใบ
- ยางพาราขาดธาตุฟอสฟอรัส (P): บนใบที่อยู่กลางลำต้นจนถึงปลายยอด ผิวใบด้านบนมีสีเหลืองอมน้ำตาล ผิวใบด้านล่างมีสีเหลืองแดง
- ยางพาราขาดธาตุโพแตสเซียม (K): เนื้อเยื่อของใบแก่หรือใบล่าง มีสีเหลือง และพบอาการไหม้ ที่ปลายใบ ในต้นยางที่สร้างทรงพุ่มแล้ว ใบจะมีอาการเหลืองซีด แต่สีไม่ สม่ำเสมอ อาการเหลืองผิดปกติ ไม่สามาแยกขอบเขตของเนื้อเยื่อระหว่างสีเหลืองซีดและเขียวได้ชัดเจน มักแสดงอาการมากๆ รอบขอบใบ
- ยางพาราขาดธาตุแมกนีเซียม (Mg): อาการที่ใบแก่หรือใบล่าง มีสีเหลืองซีดแต่ไม่สม่ำเสมอ เนื้อเยื่อ ระหว่างเส้นใบมีสีเหลืองไปจนถึงขอบใบ อาการบนใบที่ได้รับแสงเต็มที่ ปกติพบที่ยอดใบมีอาการเหลืองซีดแต่ไม่สม่ำเสมอ เนื้อเยื่อระหว่างเล้นใบมีสีเหลือง จนถึงขอบใบ
- ยางพาราขาดธาตุแคลเซียม (Ca): อาการบนฉัตรยอด หรือยอดที่แตกใหม่ ในใบมีรูปร่างปกติปลายใบและขอบใบไหม้ สีน้ำตาลซีดโดยไม่มีอาการเหลืองซีดมาก่อน ต้นยางแก่ที่สร้างทรงพุ่มแล้ว บนใบที่อยู่ในร่มเงาของทรงพุ่ม มีอาการไหม้แห้ง สีน้ำตาลซีด
- ยางพาราขาดธาตุกำมะถัน (S): อาการบนฉัตรยอด หรือยอดที่แตกใหม่ ในใบรูปร่างปกติ เริ่มแรกใบมีอาการเหลืองซีดต่อมาเกิดอาการไหม้แห้งที่ปลายใบ