ปาล์มขาดคอ หรือ ปาล์มพักคอ
ปาล์มขาดคอ คือ สภาวะที่ปาล์มออกทะลายน้อยหรือหยุดออกทะลายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยระยะเวลาอาจจะสั้นไม่ถึง 2 เดือน หรือ ยาวนานหลายเดือน ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นปาล์มน้ำมัน โดย ต้นปาล์มน้ำมันที่แข็งแรงสมบูรณ์นั้น มักจะมีระยะเวลาของภาวะปาล์มขาดคอที่สั้นลง โดยหากระยะเวลาของปาล์มขาดคอนานเท่าไร ผลผลิตของปาล์มน้ำมัน ก็จะน้อยมากเท่านั้น
ดังนั้น เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันควรหมั่นดูแลต้นปาล์มน้ำมัน ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงอยู่ตลอดเวลา เพื่อช่วยลดระยะเวลาปาล์มขาดคอให้สั้นที่สุด ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มผลผลิต ต่อไร่ ต่อปี ของปาล์มน้ำมันของชาวสวนนั้นเอง
- ทำไมปาล์มถึงขาดคอ
- ปาล์มพักคอกี่เดือน
- ปาล์มขาดคอช่วงไหน
- ปาล์มที่ขาดคอใส่ปุ๋ยอะไร
- วีธีป้องกันปาล์มขาดคอ
ข้อมูลเพิ่มเติมการดูแล ปาล์มน้ำมัน
- ตารางสูตรใส่ปุ๋ยปาล์ม ทุกช่วงอายุ ต้นสมบูรณ์ ผลผลิตสูง
- ปุ๋ยปาล์มใหญ่ ใช้สูตรไหน ลูกดก ทะลายใหญ่ ไม่ขาดคอ
- 15-10-30 ปุ๋ยปาล์มใหญ่ 2 ปีขึ้นไป ต้นสมบูรณ์ ผลผลิตสูง
- 14-7-35 ปุ๋ยใส่ปาล์มแก่อายุ 15 ปี บำรุงอะไร ยี่ห้อไหนดี
- 10-10-32 รามสูร ปุ๋ยปาล์มช่วงให้ผลผลิต
สอบถามข้อมูลปาล์มน้ำมันเพิ่มเติม:
หรือ ติดต่อเรา
ทำไมปาล์มถึงขาดคอ สาเหตุของปาล์มขาดคอ
อาการปาล์มขาดคอ แท้จริงแล้ว เป็นสภาวะปกติของปาล์มน้ำมันที่เกิดขึ้นหลังจากการเก็บเกี่ยว ซึ่งต้นปาล์มน้ำมัน จะมีสภาวะอ่อนแอมากกว่าปกติจากการให้ผลผลิตทะลายที่มาก จึงทำให้ต้นปาล์มน้ำมันเข้าสู่ช่วงพักฟื้น ส่งผลให้ออกทะลายน้อย หรือ ไม่มีเลยเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง
โดยหากเกิดขึ้น ในช่วงต้นฤดูหนาวที่ค่อนข้างแล้ง หรือช่วงที่ฝนทิ้งช่วงนานๆ ซึ่งปาล์มน้ำมันจะมีความอ่อนแอมากกว่าปกติ หรือ เกิดขึ้นกับปาล์มน้ำมันที่ไม่สมบูรณ์ หรือ ขาดการดูแลมาอย่างต่อเนื่อง ก็จะยิ่งทำให้อาการขาดคอ หรือ พักคอ มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือ มีช่วงเวลาที่นานยิ่งขึ้น
ปาล์มขาดคอ พักคอ กี่เดือน
สำหรับต้นปาล์มน้ำมัน ที่แข็งแรงสมบูรณ์ดี มีการบำรุง และ ดูแลอย่างต่อเนื่อง ระยะเวลาของปาล์มขาดคอจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 2 เดือน แต่ ถ้าหากต้นปาล์มน้ำมันไม่แข็งแรง ขาดธาตุอาหาร ขาดการบำรุง ดูแลรักษา ระยะเวลาของปาล์มขาดคอ ก็อาจจะขยายระยะเวลาออกไปได้ตั้งแต่ 3-6 เดือน
แต่ถ้าหากปาล์มไม่ออกผลผลิตเลยเป็นระยะเวลานานกว่านั้น อาจจะไม่ใช่เป็นเพียงสภาวะปาล์มขาดคอ แต่อาจจะมีปัญหาอื่นร่วมด้วย ควรหาสาเหตุและแก้ปัญหาให้ทันเวลา
ดังนั้น สภาวะของปาล์มขาดคอ คือช่วงที่ต้นปาล์มน้ำมันกำลังพักฟื้นหลังเก็บเกี่ยว ซึ่งหากแต่เดิมได้รับการบำรุงที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ สภาวะปาล์มขาดคอจึงอาจจะดึงระยะเวลาออกไปนานยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการออกทะลายปาล์มน้ำมัน และผลผลิตของเกษตรกรโดยตรง
ปาล์มน้ำมันขาดคอช่วงไหน
อาการปาล์มขาดคอ มักจะเกิดในช่วงต้นฤดูหนาว ที่อากาศค่อนข้างแล้ง หรือ ช่วงที่ฝนทิ้งช่วงนานๆ โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดอายุ ของต้นปาล์ม ทั้งนี้ อาการปาล์มขาดคอมักจะเริ่มต้นเห็นได้เด่นชัดในช่วง ปาล์มอายุปีที่ 3 – 4 ของปาล์ม เนื่องจากเป็นช่วงที่ปาล์มน้ำมันออกทะลายอย่างเต็มที่ และเกษตรกรจะเริ่มต้นเก็บผลผลิตได้อย่างเต็มที่ในช่วงระยะนี้
ดังนั้นสภาวะปาล์มขาดคอจะดูชัดขึ้นหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ในขณะที่ช่วงระยะปลูกปีที่ 1-2 นั้นอาการปาล์มขาดคอจะยังไม่ชัดเจน เพราะยังไม่ได้เริ่มออกทะลายปาล์มน้ำมันอย่างเต็มที่
ปาล์มที่ขาดคอควรใส่ปุ๋ยอะไร
ปาล์มขาดคอ แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 15-10-30 YVP ซึ่งมีธาตุอาหารตอบโจทย์กับการบำรุงต้นปาล์มน้ำมันช่วงให้ผลผลิต มีส่วนช่วยในการบำรุงทุกๆส่วนของต้นปาล์มน้ำมัน ทำให้ต้นปาล์มมีความสมบูรณ์ แข็งแรง มีความพร้อมที่จะให้ผลผลิตที่ดีได้ต่อเนื่อง และ ช่วยลดระยะเวลาการขาดคอ และ พักขอของปาล์ม ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิต ต่อไร่ต่อปี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยสัดส่วนของปุ๋ยสูตร 15-10-30 YVP ที่มีอัตราส่วน N:P:K คือ 3:2:6 ซึ่งได้รับการวิจัยมาแล้วว่าเหมาะสมกับการบำรุงต้นปาล์มน้ำมันในช่วงให้ผลผลิต
อีกทั้งปุ๋ยสูตร 15-10-30 YVP ยังมีความพิเศษที่มีธาตุอาหารรองเสริม คือ กำมะถัน (S) แคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) ที่ตอบโจทย์ทั้งการบำรุงต้น และบำรุงผลผลิต ทำให้ต้นปาล์มน้ำมันมีความพร้อมในการออกทะลายอย่างต่อเนื่อง ลดช่วงระยะเวลาของปาล์มขาดคอ
ปุ๋ยรองเสริมอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต่อปาล์มน้ำมัน คือ แมกนีเซียมซัลเฟต (กีเซอร์ไรท์) ที่ช่วยในการสร้างน้ำมันในผลปาล์มน้ำมัน และโบรอน ที่ส่งผลต่อเกสรดอก ซึ่งมีผลต่อการออกทะลายปาล์ม
เนื่องจากปาล์มน้ำมันมีความต้องการปุ๋ยค่อนข้างมาก และการใส่ปุ๋ยอย่างต่อเนื่องอาจจะทำให้สภาพดินมีปัญหาได้ ดังนั้น การปรับสภาพดินด้วยหินฟอสเฟต (0-3-0 หรือ 0-6-0) หรือ โดโลไมท์ ก็เป็นทางเลือกที่สามารถนำไปใส่ได้เช่นกัน
ข้อมูลเพิ่มเติมการดูแล ปาล์มน้ำมัน
- ตารางสูตรใส่ปุ๋ยปาล์ม ทุกช่วงอายุ ต้นสมบูรณ์ ผลผลิตสูง
- ปุ๋ยปาล์มใหญ่ ใช้สูตรไหน ลูกดก ทะลายใหญ่ ไม่ขาดคอ
- 15-10-30 ปุ๋ยปาล์มใหญ่ 2 ปีขึ้นไป ต้นสมบูรณ์ ผลผลิตสูง
- 14-7-35 ปุ๋ยใส่ปาล์มแก่อายุ 15 ปี บำรุงอะไร ยี่ห้อไหนดี
- 10-10-32 รามสูร ปุ๋ยปาล์มช่วงให้ผลผลิต
วีธีแก้ไขปาล์มขาดคอ ป้องกันปาล์มขาดคอ
แม้ว่าปาล์มขาดคอจะเป็นสภาวะปกติของปาล์มน้ำมันที่จะได้เกิดขึ้นได้หลังการเก็บเกี่ยว แต่เกษตรกรสามารถลดระยะเวลาสภาวะปาล์มขาดคอให้สั้นลงได้ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับผลผลิตปาล์มน้ำมัน โดย สิ่งสำคัญสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี คือเกษตรกรต้องคอยหมั่นศึกษา และ สังเกตสภาพของต้นปาล์ม เพื่อใส่ปุ๋ยให้ธาตุอาหารให้ครบถ้วนต่อความต้องการ
เนื่องจากปาล์มเป็นพืชที่ให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ดังนั้นความต้องการธาตุอาหารจึงยิ่งสูงตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นธาตุอาหารหลัก NPK และ ธาตุอาหารรองเสริม เช่น แคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม (Mg), กำมะถัน (S) และโบรอน (B) ทั้งนี้ เมื่อขาดธาตุอาหารธาตุใดธาตุหนึ่ง ต้นปาล์มน้ำมันจะแสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งควรจะใส่ธาตุอาหารนั้นๆ เพื่อแก้ไขให้ทันท่วงที
ดังนั้น แนวทางการแก้ไข ป้องกัน และลดระยะเวลาของปาล์มขาดคอ คือการบำรุงรักษาต้นปาล์มอย่างสม่ำเสมอ โดยการใส่ปุ๋ยให้เพียงพอต่อความต้องการ เมื่อต้นปาล์มแข็งแรงสมบูรณ์แล้ว ย่อมต้องเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกรเช่นกัน