ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยน้ำทางใบ ปุ๋ยAB คืออะไร ใช้งานอย่างไรอย่าง?

ปุ๋ยน้ำ

ปุ๋ยน้ำ คือ ปุ๋ยที่มีการนำมาผสมละลายน้ำก่อนการนำไปใช้งาน โดยนิยมใช้งานทางการฉีดพ่นทางใบ หรือ การใช้งานผ่านระบบน้ำทางดิน หรือ ใช้งานในพืชกลุ่มไฮโดรโปนิกส์

โดยหัวเชื้อของปุ๋ยน้ำนั้น อาจอยู่ในรูปแบบปุ๋ยเกล็ดผง หรือ ในรูปแบบปุ๋ยเหลวความเข้มข้มสูง ซึ่งจะนำมาผสม ละลายน้ำ ก่อนการนำไปใช้งานจริง

ปุ๋ยน้ำนั้น มักจะนิยมนำมาใช้ควบคู่เสริมกับการใช้ ปุ๋ยเม็ดทางดิน โดยปุ๋ยน้ำจะสามารถช่วยเติมธาตุอาหารให้พืชได้อย่างรวดเร็ว และ มีธาตุอาหาร หลัก – รอง – เสริม ที่หลากหลาย แต่ในระยะยาวอาจมีปริมาณธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อพืช หากใช้งานเพียงรูปแบบเดียว

ข้อดี – ข้อด้อย ของปุ๋ยน้ำ

การใช้งานปุ๋ยน้ำ มีข้อดี ได้แก่

  • พืชสามารถดูดซึมได้รวดเร็ว มากกว่าการให้ปุ๋ยทางดิน
  • สามารถใช้งานได้ทั้งทางใบ หรือ ทางดิน
  • สามารถใช้งานควบคู่กับปุ๋ยเม็ดทางดินได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
  • มีธาตุอาหาร หลัก – รอง – เสริม ให้เลือก หลากหลาย
  • การให้ปุ๋ยทางใบ พืชจะสามารถนำไปใช้งานได้เลย โดยไม่มีข้อจำกัดสภาพดิน
  • สามารถใช้งานพร้อมกับสารอื่นๆ เช่น สารกำจัดวัชพืช หรือ แมลง ได้

การใช้งานปุ๋ยน้ำ มีข้อด้อย ได้แก่

  • อาจต้องใช้ควบคู่กับปุ๋ยทางดิน เพื่อให้พืชได้รับธาตุอาหารครบถ้วน
  • การให้ปุ๋ยทางใบ ต้องระมัดระวังไม่ให้ใบไหม้
  • ราคาต่อปริมาณธาตุอาหาร อาจสูงกว่าปุ๋ยเม็ดทางดินทั่วไป

ปุ๋ยน้ำสูตรต่างๆ

ปุ๋ยน้ำ เพื่อการใช้งานในการฉีดพ่นทางใบ หรือ ผ่านระบบน้ำ มีหลากหลายสูตร ครอบคลุมทุกช่วงการใช้งาน ในทุกพืช เช่น:

  • สูตรเสมอ 20-20-20 หรือ 21-21-21 ใช้เพื่อการบำรุงทั่วไป ฟื้นฟูสภาพต้น
  • สูตรเร่งต้น 33-5-3 หรือ 35-4-4
  • สูตรบำรุงผลผลิต 16-7-32 หรือ 15-6-35
  • สูตรสะสมอาหาร 8-24-24 หรือ 9-25-25

โดยปุ๋ยของเรานั้นจะอยู่ในรูปแบบปุ๋ยเกล็ดผง ที่สามารถละลายน้ำได้ 100% โดยมีความสะดวกในการใช้งาน และ ขนส่งมากกว่าปุ๋ยเหลวที่ละลายน้ำมาเบื้องต้นแล้ว

ในการใช้งาน สามารถนำปุ๋ยเกล็ดผงสูตรต่างๆนี้ มาละลายน้ำ และ ฉีดพ่นทางใบ หรือ ใช้งานผ่านระบบน้ำได้โดยตรง มีความสะดวกในการใช้งาน พืชสามารถดูดซึมได้รวดเร็ว และ ไม่มีปัญหาการเป็นตะกอน

ปุ๋ยน้ำ AB คืออะไร?

ปุ๋ยน้ำ AB คือปุ๋ยน้ำที่มีการกำหนดสูตรออกมาเป็น 2 สูตร ได้แก่ สูตร A และ สูตร B โดยแต่ละสูตรนั้นก็จะมีธาตุอาหารที่แตกต่างกันไป และ มีการใช้งานในช่วงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และ การใช้งาน เช่น สูตร A ในช่วงบำรุงต้น และ สูตร B ในช่วงบำรุงผลผลิต

การใช้ปุ๋ย AB ให้ได้ประสิทธิภาพเต็มที่นั้น ทางเกษตรกรก็ควรจะศึกษา ธาตุอาหาร และ ส่วนประกอบ ของปุ๋ยแต่ละสูตรให้แน่ชัด ว่ามีธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) หรือ ธาตุอาหารรองเสริม เช่น ซัลเฟอร์ (S) แคลเซียม (Ca) หรือ แมกนีเซียม (Mg) ในปริมาณ และ สัดส่วนเท่าไหร่ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่แน่ชัด ก่อนจะนำมาใช้งาน

เมื่อเกษตรกรมีความเข้าใจในส่วนประกอบ และ สัดส่วน ที่แน่ชัดแล้ว ก็จะสามารถนำมาปรับใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถเลือกเติมธาตุอาหารในรูปแบบที่คุ้มค่ามากที่สุดได้

สอบถามข้อมูลปุ๋ยน้ำเพิ่มเติม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *