ธาตุอาหารพืช 17 ธาตุ มีอะไรบ้าง
ธาตุอาหารที่พืชต้องการมีทั้งหมด 17 ธาตุอาหาร โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่:
- ธาตุอาหารที่เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างพืช มี 3 ธาตุอาหาร ได้แก่: คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และ ออกซิเจน (O)
- ธาตุอาหารหลัก ที่พืชต้องการในปริมาณมากที่สุด มี 3 ธาตุอาหาร ได้แก่: ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K)
- ธาตุอาหารรอง ที่พืชต้องการในปริมาณปานกลาง มี 3 ธาตุอาหาร ได้แก่: ซัลเฟอร์ (S) แคลเซียม (Ca) และ แมกนีเซียม (Mg)
- ธาตุอาหารเสริม ที่พืชต้องการในปริมาณเล็กน้อย มี 8 ธาตุอาหาร ได้แก่: เหล็ก (Fe) โบรอน (B) ซิงค์ (Zn) คลอไรด์ (Cl) ทองแดง (Cu) แมงกานีส (Mn) โมลิบดีนัม Mo และ นิกเกิล (Ni)
YVP GROUP คือผู้นำในการผลิต และ จัดจำหน่าย ธาตุอาหารของพืชทุกๆชนิด เรามีการสรรหาวัตถุดิบคุณภาพสูงจากทั่วทุกมุมโลก ผ่านกระบวนการผลิตจากโรงงานที่มีมาตรฐาน ISO 9001:2015 ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 37 ปี
สารบัญธาตุอาหารพืช
สอบถามข้อมูลธาตุอาหารพืชเพิ่มเติมได้ที่:
หรือ ติดต่อเรา
ธาตุอาหารเชิงโครงสร้างของพืช
ประกอบไปด้วย 3 ธาตุอาหาร ได้แก่
- คาร์บอน (C)
- ไฮโดรเจน (H)
- ออกซิเจน (O)
โดยแม้ว่าจะเป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญอย่างมาก แต่เป็นธาตุอาหารที่พืชจะได้รับจากธรรมชาติอยู่แล้ว เช่น จาก ก๊าซออกซิเจน (O2) และ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในอากาศ หรือ จากน้ำ (H2O) ซึ่งพืชก็จะนำธาตุอาหารเหล่านี้มาใช้เพื่อการสังเคราะห์แสง สร้างพลังงาน และ ใช้เพื่อการเจริญเติบโตต่อไป
ธาตุอาหารหลักของพืช
ธาตุอาหารหลัก เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการมากที่สุด และ ต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยมีทั้งหมด 3 ธาตุอาหาร ได้แก่
- ไนโตรเจน (N)
- ฟอสฟอรัส (P)
- โพแทสเซียม (K)
โดยธาตุอาหารหลัก 3 ธาตุนี้จะได้จาก แม่ปุ๋ยเคมี หรือ ปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ โดยเกษตรกรควรเติมให้พืชอย่างต่อเนื่อง และ เพียงพอ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูก และ มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และ สามารถให้ผลผลิตที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง และ ยั่งยืน
การพึ่งพาเพียงปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยพืชสัตว์สด นั้น แม้จะช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตดุ และ ปรับสภาพดินได้ แต่จะมีปริมาณธาตุอาหารหลักของพืชที่ต่ำมาก และ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกต่อเนื่อง เกษตรกรจึงควรเลือกใช้ปุ๋ยหลายๆรูปแบบควบคู่ไปด้วยกัน มากกว่าการเลือกใช้ปุ๋ยรูปแบบใดรูปแบบนึงเพียงแบบเดียว
1. ธาตุอาหารไนโตรเจน (N)
ไนโตรเจน (N) มีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของลำต้น และ ของใบพืช เป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์ ซึ่งพืชจะใช้เพื่อการสังเคราะห์แสง และ สร้างพลังงาน โดยแหล่งที่มาหลักของธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ที่ได้รับความนิยม คือจาก แม่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 และ แม่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0
อีกทางเลือกของการเติมธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ให้พืช คือผ่านปุ๋ยสูตร เช่น สูตร 30-0-0 YVP หรือ แนนซี่ ซึ่งจะมีส่วนประกอบของทั้งแม่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 และ แม่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0 และยังมีธาตุอาหารรองเสริมอีก 3 ธาตุอาหาร ได้แก่ ซัลเฟอร์(S) แคลเซียม (Ca) และ แมกนีเซียม (Mg) อีกด้วย จึงเป็นทางเลือกที่ดีอย่างมาก เพราะช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารที่ครบถ้วน และ หลากหลายมากขึ้น
ข้อมูลเพิ่มเติมปุ๋ยสูตรไนโตรเจน (N) สูง สำหรับเร่งต้น เร่งใบ
2. ธาตุอาหารฟอสฟอรัส (P)
ฟอสฟอรัส (P) มีบทบาทหลักในการสร้างราก เพิ่มการแตกกอในพืชไร่ และ นาข้าว และ ยังมีส่วนช่วยในการสร้างดอก และ ผสมพันธุ์ ในพืชอีกด้วย โดยแหล่งที่มาหลักของฟอสฟอรัส(P) คือจากแม่ปุ๋ย 18-46-0 ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต
โดยธาตุอาหารฟอสฟอรัส (P) นั้น แม้จะมีความสำคัญด้วยตนเอง แต่ก็มักได้รับความนิยมในการใช้ควบคู่กับธาตุอาหาร ไนโตรเจน (N) หรือ โพแทสเซียม (K) ในรูปแบบปุ๋ยสูตรมากกว่า โดยปุ๋ยสูตรที่มีธาตุอาหารฟอสฟอรัส (P) ในปริมาณมาก ได้แก่ ปุ๋ยสูตร 16-20-0 นิยมใช้ในการเร่งราก เร่งการแตกกอในพืชไร่ และ นาข้าว หรือ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ที่ใช้สำหรับการบำรุงภาพรวมของพืชทุกๆส่วน หรือ สูตร 8-24-24 ที่ใช้สำหรับการเร่งดอก สะสมอาหารพืช โดยเฉพาะ
3. ธาตุอาหารโพแทสเซียม (K)
โพแทสเซียม (K) คือธาตุอาหารหลักที่มีบทบาทโดยตรงในการบำรุงผลผลิตพืช มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อ สร้างแป้ง ขยายขนาดผลผลิต สร้างน้ำตาล เพิ่มความหวาน เพิ่มน้ำหนัก ในพืชทุกๆชนิด โดยแหล่งที่มาหลักของโพแทสเซียม (K) คือจากแม่ปุ๋ย 0-0-60 โพแทสเซียมคลอไรด์ หรือ 0-0-50 โพแทสเซียมซัลเฟต
ธาตุอาหารโพแทสเซียม (K) สามารถใช้ได้โดยตรงในรูปแบบแม่ปุ๋ยในช่วงการบำรุงผลผลิตของพืชทุกชนิด หรือ อาจใช้ในรูปแบบปุ๋ยสูตรควบคู่กับ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ ธาตุอาหารรองเสริม เพื่อให้พืชได้รับธาตุอาหารครบถ้วน และ สามารถให้ผลผลิตที่ดีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้เช่นกัน
ข้อมูลสูตรปุ๋ยโพแทสเซียม (K) สูง สำหรับการเร่งผลผลิตพืช
ธาตุอาหารรองของพืช
ธาตุอาหารรอง เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องการในปริมาณที่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก โดยมีทั้งหมด 3 ธาตุอาหาร ได้แก่
- ซัลเฟอร์ (S)
- แคลเซียม (Ca)
- แมกนีเซียม (Mg)
ธาตุอาหารรอง 3 ธาตุอาหารนี้ มักได้จาก ปุ๋ยเคมีบางสูตรที่มีส่วนผสม หรือ จากสารปรับปรุงดินต่างๆ เช่น โดโลไมท์ หรือ กีเซอร์ไรท์ โดยปุ๋ย YVP และ ปุ๋ยแนนซี่ ทุกๆสูตรนั้น จะมีส่วนผสมของทั้ง 3 ธาตุอาหารอยู่แล้ว เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใส่ปุ๋ยของเกษตรกร และ เป็นการเติมธาตุอาหารให้พืชอย่างครบถ้วน ทำให้พืชมีความแข็งแรง สมบูรณ์ และ มีความพร้อมที่จะให้ผลผลิตที่ดีได้
1. ธาตุอาหารซัลเฟอร์ (S)
ธาตุอาหารซัลเฟอร์ (S) เป็นอีกธาตุสำคัญที่พืชใช้เพื่อการสร้างโปรตีน และ เอนไซม์ต่างๆ และ ยังเป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์ ที่มีส่วนช่วยให้พืชใบเขียว สร้างพลังงานและอาหารได้เต็มที่ นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการสร้างสี สร้างกลิ่น และ สร้างรสชาติ ในผลผลิตของพืชอีกด้วย
ธาตุอาหารซัลเฟอร์ (S) จะพบได้ใน แม่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0 + 24S หรือ แม่ปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟต 0-0-50 + 17S หรือ กีเซอไรท์ แมกนีเซียมซัลเฟต
2. ธาตุอาหารแคลเซียม (Ca)
ธาตุอาหารแคลเซียม (Ca) เป็นธาตุอาหารที่มีส่วนสำคัญในการสร้างความแข็งแรงให้พืช มีส่วนช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรง ใบตั้ง ลำต้นแข็งแรง ช่วยให้พืชไร่ หรือ นาข้าว ไม่ล้มง่าย โดยธาตุอาหารแคลเซียม (Ca) จะพบได้มากในสารปรับปรุงดิน โดโลไมท์
3. ธาตุอาหารแมกนีเซียม (Mg)
ธาตุอาหารแมกนีเซียมเซียม (Mg) เป็นส่วนประกอบที่พืชใช้เพื่อการสร้างโปรตีน เอนไซม์ต่างๆ และ คลอโรฟิลล์ มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์แสง และ สร้างพลังงานในพืช โดยธาตุอาหารแมกนีเซียม (Mg) สามารถพบได้มากใน กีเซอไรท์ แมกนีเซียมซัลเฟต หรือ สารปรับปรุงดิน โดโลไมท์
ธาตุอาหารเสริมของพืช
เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณเล็กน้อย โดยมีทั้งหมด 8 ธาตุอาหาร ได้แก่
- เหล็ก (Fe)
- โบรอน (B)
- ซิงค์ (Zn)
- คลอไรด์ (Cl)
- ทองแดง (Cu)
- แมงกานีส (Mn)
- โมลิบดีนัม Mo
- นิกเกิล (Ni)
โดยทั้ง 9 ธาตุอาหารนี้โดยส่วนมากมักมีค่อนข้างเพียงพออยู่แล้วตามธรรมชาติ แต่อาจมีบางธาตุอาหาร ที่พืชบางชนิดต้องการในปริมาณมากพิเศษ และ เกษตรกรควรควรมีการเติมเพิ่มเพื่อให้พืชสมบูรณ์แข็งแรง และ ผลผลิตดี เช่น ธาตุอาหารโบรอน (B) สำหรับปาล์มน้ำมัน และ ไม้ผลต่างๆเช่น ทุเรียน มังคุด ลิ้นจี่ และ อื่นๆ ซึ่งมีผลต่อการติดดอก และ การผสมพันธุ์ ส่งผลต่อผลผลิตของพืชหากพืชได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอ